Chonburi Sponsored

ฉลามชลจูเนียร์ เปิดคัดแข้งเยาวชนเข้าสู่อคาเดมี รุ่น 13 และ 14 ปี – ข่าวสด

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ฉลามชลจูเนียร์ เปิดโอกาสให้นักเตะเยาวชนรุ่นใหม่ได้มีเส้นทางสำหรับฟุตบอลอาชีพด้วยการรับสมัครคัดเลือกนักเตะรุ่น 13 และ 14 ปี เข้าสังกัดชลบุรี อคาเดมี

เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด

ฉลามชลจูเนียร์ ชลบุรี เอฟซี อคาเดมี แหล่งเพาะบ่ม แข้ง “ฉลามชล” สายเลือดใหม่ของสโมสรชลบุรี เอฟซี เตรียมเปิดคัดเยาวชน เข้าสู่อคาเดมี 2 รุ่น คือรุ่นอายุ 14 ปี (เกิดพ.ศ.2551 เท่านั้น) และ รุ่นอายุ 13 ปี (เกิดพ.ศ.2552 เท่านั้น)

สำหรับ รุ่นอายุ 14 ปี จะทำการคัดเลือกรอบแรก ในวันอังคารที่ 22 มี.ค. ขณะที่ในรอบที่ 2 จะทำการคัดเลือก ในวันพุธที่ 23 มี.ค. ส่วนรุ่นอายุ 13 ปี จะทำการคัดเลือกรอบแรก ในวันเสาร์ที่ 26 มี.ค.

  • ซิโก้ เผยเกมแรกฟุตบอลลีกยากเสมอ – ให้เหตุผลดร็อปกองหน้าตัวหลัก

ขณะที่ในรอบที่ 2 จะทำการคัดเลือก ในวันอาทิตย์ที่ 27 มี.ค. ที่สนามช้าง ฟุตบอล ปาร์ค อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในรอบแรกเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ์คัดเลือกในรอบที่ 2

ทั้งนี้ เปิดให้ลงทะเบียนในวันที่มาคัดเลือก ตั้งแต่เวลา 07.30 น. – 9.00 น. และเริ่มทดสอบฝีเท้าตั้งแต่เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป

เอกสารประกอบการสมัคร

1.บัตรประชาชนตัวจริง

2.สำเนาบัตรประชาชนของผู้เข้าคัดเลือก รับรองสำเนาถูกต้อง พร้อม เขียนชื่อ-นามสกุล ผู้ปกครองที่พามาทดสอบฝีเท้า และ เบอร์ติดต่อ ให้เรียบร้อย จำนวน 1 ใบ

(กรุณาเตรียมเอกสารมาให้พร้อม หน้าสนามไม่มีจุดรับถ่ายเอกสาร)

สำหรับผู้ที่ผ่านการคัดเลือก รอบที่ 2 จะต้องเดินทางมาร่วมเก็บตัวฝึกซ้อม ในรอบสุดท้าย เป็นเวลาทั้ง 7 วัน ที่ศูนย์ฝึกฟุตบอล ชลบุรี เอฟซี อคาเดมี ขณะที่ผู้ที่ผ่านการคัดเลือก รอบสุดท้าย จะได้รับสวัสดิการที่พัก, อาหาร, ค่าเทอม, ชุดแข่ง, ชุดซ้อม, ชุดเดินทาง และเข้ารับการศึกษา ที่โรงเรียน ท่าข้ามพิทยาคม พนัสนิคม สังกัดอบจ.ชลบุรี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ Line Id : @chonburi_fca ลิ้งค์แผนที่การเดินทาง : https://goo.gl/maps/WptVzBYRfwJiLJD4A

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม