Chonburi Sponsored

“เชียงราย”เตรียมปิดถนนหน้าด่านเปิดแคทวอล์ค ดันผ้าชาติพันธุ์ซอฟต์พาวเวอร์สู่เส้นทางแฟชั่นโลก

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

“เชียงราย”เตรียมปิดถนนหน้าด่านเปิดแคทวอล์ค ดันผ้าชาติพันธุ์ซอฟต์พาวเวอร์สู่เส้นทางแฟชั่นโลก

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เชียงราย – รัฐ/เอกชนเชียงราย ผนึกกำลังดันผืนผ้าชาติพันธุ์พื้นถิ่น เปิดรับ 200 ดีไซน์เนอร์ ร่วมออกแบบชิงรางวัลเกือบครึ่งล้าน ก่อนปิดถนนหน้าด่านฯแม่สาย เปิดแคทวอล์คโชว์ให้กระหึ่ม เป็นซอฟต์พาวเวอร์มุ่งสู่เส้นทางแฟชั่นโลก


นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ รองผู้ว่าฯเชียงราย นางสุภาเพ็ญ ศิริมาตย์ ประธานแม่บ้านมหาดไทย จ.เชียงราย นายวิสูตร บัวชุม ผอ.ททท.สำนักงานเชียงราย นางนงเยาว์ เนตรประสิทธิ์ นายกสมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ จ.เชียงราย นายกีโยม มูเดเคเรช่า ลูฮีรีรี Digital Drector at Vathanagul Group Co-Founder at Yarrow.co.,Ltd.นายชัยยนต์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีตำบลแม่สาย สำนักงานวัฒนธรรม จ.เชียงราย บริษัทวัฒนกูล กรุ๊ป จำกัด แบรนด์ “YOURS” ฯลฯ ได้จัดแสดงการจัดทำลวดลายผ้าจากชาวไทยพื้นราบและกลุ่มชาติพันธุ์ตัวอย่าง 5 กลุ่ม เมื่อเร็วๆนี้ที่หอปรัชญา รัชการที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย (มร.ชร.) จ.เชียงราย

แต่ละกลุ่มโชว์ให้เห็นถึงขั้นตอนการออกแบบลวดลาย การถักทอ และประยุกติ์ใช้ในเครื่องแต่งกายยุคปัจจุบันได้อย่างลงตัว ทั้งกระเป๋า เสื้อผ้า รองเท้า ฯลฯ โดยเฉพาะกลุ่มม้ง ที่ผู้สูงวัยลงมือใช้อุปกรณ์ดั้งเดิมถักทอลวดลายวิถีถิ่นลงบนผืนผ้าได้อย่างคล่องแคล่วและงดงาม ขณะที่แบรนด์ YOURS มีการนำเสื้อผ้าที่ออกแบบด้วยลวดลายชาติพันธุ์ตามความต้องการของลูกค้า ทำให้แต่ละผืนมีเพียง 1 ชุดในโลกและไม่ซ้ำแบบใด


โอกาสนี้คณะผู้จัดงานได้ร่วมกันแถลงการจัดกิจกรรม Chiang Rai Fashion to The World 2023 และงาน Fashion to The Road รวมทั้งจัดเดินแบบจากเสื้อผ้าที่ออกแบบด้วยการใช้ลวดลายจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในเชียงราย ที่ออกแบบโดยแบรนด์ YOURS และตัดเย็บโดยผู้ต้องขัง แดน 3 เรือนจำกลาง จ.เชียงราย

นายวิสูตร กล่าวว่า ขณะที่หลายประเทศใช้ซอฟต์พาวเวอร์ส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น เกาหลีใต้ใช้วง k-pop ฯลฯ สำหรับ ททท.มุ่งส่งเสริมวัฒนธรรมด้วย 5 F ได้แก่ อาหาร (Food) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) การออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion) ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (Fighting) และเทศกาล (Festival)


กรณีของเชียงราย เมืองที่มีกลุ่มชาติพันธุ์จำนวนมากและหลากหลาย มีการประดิษฐ์ลวดลายผ้าอันเป็นเอกลักษณ์ออกมามากมาย จึงสามารถนำมาส่งเสริมและพัฒนาเป็นซอฟต์พาวเวอร์ได้เป็นอย่างดี ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้จัดกิจกรรม Chiang Rai Fashion to The World 2023 เพื่อให้ลาดผ้าของเชียงรายก้าวไปสูระดับโลก โดยจะเชิญชวนดีไซเนอร์จากทั่วประเทศได้ร่วมกันออกแบบเสื้อผ้าลวดลายที่มีในเชียงราย ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 400,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล

นอกจากนี้ทุกผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะนำไปจัดแสดงใน Fashion to The Road ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 12-14 ส.ค.2566 ณ บริเวณหน้าด่านพรมแดนไทย-เมียนมา สะพานข้ามแม่สายแห่งที่ 1 อ.แม่สาย ซึ่งจะดูแนวทางการเดินแฟชั่นที่เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี มาปรับใช้กับการเดินแฟชั่นบนถนนหน้าด่านพรมแดนของไทย

“เชื่อว่าแนวทางนี้จะช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้ผลิตผ้าท้องถิ่น เพราะเน้นให้มีการนำลวดลายผ้าของท้องถิ่นมาออกแบบผสมแฟชั่นยุคปัจจุบัน รวมทั้งมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายส่วนหนึ่งคือลูกค้าระดับบนด้วย นอกจากนี้ยังช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศอีกทางหนึ่ง ซึ่งเชียงราย ตั้งเป้าว่าตลอดปี 2566 จะมีนักท่องเที่ยวเข้าพื้นที่ 4.5 ล้านคน”


นางนงเยาว์ กล่าวว่า เชียงราย มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รวมกันกว่า 35 ชาติพันธุ์ ในแต่ละชาติพันธุ์ก็มีการแบ่งแยกย่อยออกไป เช่น ลาหู่ ก็มีทั้งลาหู่แดง ลาหู่ดำ ไทยวน ไทเขิน ไทยอง ฯลฯ ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างสืบทอดการออกแบบลวดลายผ้าปักด้วยเทคนิค ลวดลายและสีสัน แตกต่างกันไปอย่างหลากหลาย

ดังนั้นในการประกวด Chiang Rai Fashion to The World 2023 จะมีการคัดสรรดีไซเนอร์ให้ได้จำนวน 200 ราย เข้าอบรมเกี่ยวกับลวดลายผ้าเชียงราย ซึ่งเบื้องต้นรวบรวมได้แล้วราวๆ 50-100 ลวดลาย ก่อนให้ลงมือออกแบบและคัดเลือกผลงานรอบแรกให้เหลือจำนวน 100 ราย และรอบต่อไปเหลือ 50 คน รอบสุดท้ายคัดเหลือ 8 นักออกแบบเพื่อรับรางวัลชนะเลิศ อันดับที่ 2 และ 3 รวมทั้งรางวัลชมเชย 5 รางวัล

ทั้งนี้ได้เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 10 มี.ค.-30 เม.ย.นี้ ผ่านทางเว็บไซต์ www.fashionchiangraitotheworld.com หรือเฟซบุ๊ก Chiang Rai Fashion to The World จัดอบรมวันที่ 1-7 พ.ค.เปิดให้ออกแบบตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.-7 พ.ค.ซึ่งผลงานทั้ง 200 ราย จะนำเดินแฟชั่นบนถนนเป็นครั้งแรกของภาคเหนือบริเวณหน้าด่านพรมแดน อ.แม่สาย ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร และมีร้านค้าเกี่ยวกับแฟชั่นผ้าต่างๆ กว่า 100 ราย ร่วมจัดแสดงด้วย

Chonburi Sponsored
อำเภอ บ่อทอง

ท้องที่อำเภอบ่อทองเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอพนัสนิคม ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองอำเภอพนัสนิคม ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอบ่อทอง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2521 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม ปีเดียวกัน และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอบ่อทอง อำเภอพนัสนิคม ขึ้นเป็น อำเภอบ่อทอง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 9 มีนาคม 2528 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม ปีเดียวกัน