Chonburi Sponsored

โฆษก ทร. เผยพบคราบของเสียคล้ายน้ำมัน รั่วไหลจากเรือบรรทุกน้ำมัน ใกล้เกาะจวง สัตหีบ

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

วันนี้ (24 ก.พ.65) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พลเรือโท ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2565 กองทัพเรือโดยศูนย์ปฏิบัติการทัพเรือภาคที่ 1 ได้รับรายงานจากเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ที่กำลังลาดตระเวนอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ ว่าพบคราบของเสียลักษณะคล้ายน้ำมันรั่วไหลจากเรือบรรทุกน้ำมัน ปกคลุมเป็นบริเวณกว้าง ในพื้นที่ห่างจากเกาะจวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ไปทางทิศใต้ประมาณ 9 กิโลเมตร จึงส่งเฮลิคอปเตอร์จากกองการบินทหารเรือขึ้นบินสำรวจ

โฆษกกองทัพเรือ กล่าวว่าจากการตรวจสอบ พบว่าคราบของเสียดังกล่าวรั่วไหลเป็นแนวยาวออกมาจากเรือบรรทุกน้ำมันชื่อ SMOOTH SEA ประเภท TANKER ขณะนั้นกำลังเดินเรือผ่านเกาะอิเลาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจึงได้ทำการบันทึกภาพและคลิปวีดีโอไว้เป็นหลักฐาน ในเวลาต่อมา พบว่าเรือลำดังกล่าว ได้จอดอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะสีชัง ศูนย์ปฏิบัติการทัพเรือภาคที่ 1 จึงประสานไปยังศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาคที่ 1 จัดเรือเข้าตรวจสอบ โดยศูนย์อำนวยการรักษาประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 1 ได้จัดชุดสหวิชาชีพ พร้อม เรือ ต. 112 และ เรือ ต. 114 เข้าทำการตรวจสอบ ซึ่งความคืบหน้า จะรายงานให้ทราบในโอกาสต่อไป

พลเรือโท ปกครอง กล่าวอีกว่า หากผลการตรวจสอบพบว่าเป็นการทิ้งของเสียลงในทะเล จะถือเป็นความผิด ตาม พระราชบัญญัติเดินเรือน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 มาตรา 119 ทวิ ซึ่งห้ามมิให้ผู้ใดเท ทิ้ง หรือทำด้วยประการใด ให้น้ำมันและเคมีภัณฑ์หรือสิ่งใดๆ  ลงในแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ หรือทะเลสาบอันเป็นทางสัญจรของประชาชนหรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน หรือทะเลภายในน่านน้ำไทยอันอาจจะเป็นเหตุให้เกิดเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต หรือต่อสิ่งแวดล้อม หรือเป็นอันตรายต่อการเดินเรือในแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ หรือทะเลสาบดังกล่าว ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และต้องชดใช้เงินค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปในการแก้ไขสิ่งเป็นพิษหรือชดใช้ค่า เสียหายเหล่านั้นด้วย

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้