Chonburi Sponsored

09.00 INDEX พลังเฉื่อย จาก 'พลังประชารัฐ' กับอนาคต ประยุทธ์ จันทร์โอชา

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เริ่มก่อรูปขึ้นในเดือนมิถุนายน 2562 เด่นชัดยิ่งว่ามี 250 ส.ว.ประสานเข้ากับ 116 ส.ส.ของพรรคพลังประชารัฐ

เมื่อรวมเข้ากับ 53 ส.ส.พรรคภูมิใจไทย 51 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ 10 ส.ส.พรรคขนาดเล็ก

การขานชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงคึกคักเป็นอย่างยิ่ง

จากเดือนมิถุนายน 2562 มาถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 การดำรงอยู่ของ 250 ส.ว.อาจมีที่แยกแตกตัวออกมาบ้างแต่มิได้มากมายจนก่อให้เกิดความตระหนกว่าจะผิดเพี้ยน

กระนั้น เมื่อมองไปยัง 116 เสียง ภายในพรรคพลังประชารัฐก็มีอย่างน้อย 21 เสียง ที่บางส่วนกลายเป็น 18 ส.ส.พรรคเศรษฐกิจไทย และมี 3 ส.ส.ไปสังกัดอยู่กับพรรคภูมิใจไทย

ปริมาณ 97 เสียง ของพรรคพลังประชารัฐอาจหนักแน่นมาก

กว่า 63 ส.ส.ที่พรรคภูมิใจไทยมีอยู่ในมือ แต่ก็เป็นการดำรงอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง แตกแยก และมากด้วยความผันผวนไม่แน่นอน

คือฐานที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

ถามว่า 97 ส.ส.ของพรรคพลังประชารัฐ มีความแข็งแกร่ง มั่นคง และไว้วางใจได้มากน้อยเพียงใด แม้กระทั่ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ก็มิอาจให้คำตอบได้ด้วยความมั่นใจ

รูปธรรมอันน่าหวาดพรั่นอย่างยิ่งก็คือ ความขัดแย้งแตกแยกในบางส่วนของภาคตะวันออก โดยเฉพาะที่ จ.ชลบุรี

เด่นชัดอย่างยิ่งว่าหาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ลงมือบริหารจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งก็ยากเป็นอย่างยิ่งที่ นายสุชาติ ชมกลิ่น จะจัดการได้อย่างราบรื่น

ปัญหาของพรรคพลังประชารัฐมิได้อยู่ที่ว่าจะลากดึงเข้าไปมีบทบาทอย่างไรในการเลือกตั้งครั้งหน้าประการเดียว หากแต่จะมั่นใจได้หรือว่าจะรักษาฐานะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เอาไว้ได้

ทั้งหมดนี้ไม่เพียงแต่สะท้อน ให้เห็นความล้มเหลวในกระบวนการสืบทอดอำนาจของ คสช.ผ่านพรรคการเมือง “เฉพาะกิจ” หากแต่แทบไม่มีหลักประกันอันใดเลยในอนาคต

ความหมายก็คือ อำนาจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จบแล้ว

ที่ยังคงอยู่และแสดงบทบาทในที่นี้เป็นเพียง “พลังเฉื่อย” ภายใต้การอุ้มชูของพรรคภูมิใจไทยและพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น

ทั้งไม่แน่ใจว่าเป็นการอุ้มชูด้วย “วาระแฝงเร้น” ประการใดด้วย

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่

Chonburi Sponsored
อำเภอ เกาะจันทร์

พ.ศ. 2371 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มชาวลาวอาสาปากน้ำ บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม เป็นเมืองชั้นจัตวา สังกัดกรมท่า โดยบริเวณท่าบุญมี เป็นท่าน้ำและท่าเกวียน ขนส่งสินค้าป่าสู่เมืองพนัสนิคม ตั้งอยู่อยู่ในอาณาเขตเมืองพนัสนิคม พ.ศ. 2441 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีการปฏิรูปการปกครองประเทศและจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ให้เมืองพนัสนิคมเป็นอำเภอพนัสนิคม ยกฐานะเป็นตำบลท่าบุญมี ในอดีตมีสภาพเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ ปรากฏหลักฐานบันทึกชื่อดงในตำบลท่าบุญมี เช่น ดงดอกไม้ ดงรากไม้ เป็นต้น โดยอาจมีต้นจันทน์มาก จึงเรียกว่า "เกาะจันทร์"