Chonburi Sponsored

โจรไม่เกรงกลัว ขโมย จยย. ไม่สนวงจรปิด

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

เช้านี้ที่หมอชิต – สองโจรบุกขโมยรถจักรยานยนต์แบบไม่เกรงกลัวกล้องวงจรปิด ภายใน 1 คืน รถจักรยานยนต์ในหอพักหายถึง 2 คัน

นี่เป็นภาพกล้องวงจรปิดบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ได้ เผยให้เห็นพฤติกรรมของสองคนร้าย ก่อเหตุเมื่อวันที่ 29 มกราคม ที่ผ่านมา ที่หอพักแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี พอสองคนร้ายขี่รถจักรยานยนต์ซ้อนท้ายมาถึงที่ก่อเหตุ จากนั้นคนซ้อนท้ายลงไปก่อเหตุขโมยรถจักรยานยนต์ โดยใช้เท้าถีบคอรถที่ล็อกเอาไว้ ก่อนเข็นออกมาให้คนขี่รถจักรยานยนต์อีกคันถีบยันหลบหนีไป

เวลาต่อมา สองคนร้ายกลับมาก่อเหตุที่เดิม ก่อเหตุในลักษณะเดียวกัน คือใช้เท้าถีบแฮนด์จับที่เจ้าของล็อกคอจนหัก จากนั้นก็เข็นออกมาให้เพื่อนที่ขี่รถจักรยานยนต์ช่วยยันรถที่ก่อเหตุขโมย ขี่ออกจากหอพักหลบหนีไป

ต่อมา พันตำรวจโท ชัยชาญ ประเสริฐวงษ์ สารวัตรสอบสวน สถานีตำรวจภูธรพนัสนิคม พร้อมด้วยตำรวจชุดสืบสวนสอบสวนเดินทางเข้าที่เกิดเหตุ เป็นหอพักในพื้นที่หมู่ที่ 3 ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ได้พบกับผู้เสียหายเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ 2 คัน ที่ถูกลักขโมยไป คือ นายเทิดศักดิ์ อายุ 33 ปี เจ้าของรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้า เวฟ 125 ไอ สีแดง และนางสาวธารารัตน์ อายุ 24 ปี เจ้าของรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้า คลิ๊ก สีขาว-ดำ ป้ายแดง

จากการสอบถาม นางสาวธารารัตน์ เล่าว่า รถจักรยานยนต์คันนี้ซื้อสด ในราคา 66,000 บาท ขี่ไม่ถึง 3 เดือน กลับมาถูกขโมยไปก่อน ในวันเกิดเหตุเธอได้มาจอดไว้ที่หอพักเวลาประมาณ 19.30 น. และเข้านอน แต่มารู้ว่ารถหายก็หลังจากทราบว่ารถของนายเทิดศักดิ์ถูกขโมย

ขณะที่ นายเทิดศักดิ์ เปิดเผยว่า จอดรถจักรยานยนต์ไว้ตั้งแต่กลางคืน พอตอนเช้าตื่นจะไปธุระ ก็ไม่เจอรถแล้ว พอมาดูกล้องวงจรปิดก็พบว่า รถถูกขโมยไปในช่วงเวลาเที่ยงคืน ซึ่งรถคันนี้ได้ซื้อเงินสด ในราคา 53,000 บาท หลังจากนี้คงลำบากเพราะไม่มีรถขี่ไปทำงาน

ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำกล้องวงจรปิดไปเป็นหลักฐาน เพื่อติดตามเส้นทางที่คนร้ายใช้หลบหนี เบื้องต้นคาดว่าไม่ใช่คนในพื้นที่ แต่เห็นรูปพรรณสัณฐานอย่างชัดเจนที่จะสามารถจับตัวได้เร็ว ๆ นี้

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม