Chonburi Sponsored

ยักษ์ชนยักษ์ทำให้คนขับอีกฝ่ายขาถูกทับหักโดยอ้างว่ารถสะดุดก้อนหินแล้วเบรกไม่อยู่ – TOPNEWS

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ยักษ์ชนยักษ์ทำให้คนขับอีกฝ่ายขาถูกทับหักโดยอ้างว่ารถสะดุดก้อนหินแล้วเบรกไม่อยู่

  • เผยแพร่ : 30/01/2023 20:55

ยักษ์ชนยักษ์ทำให้คนขับอีกฝ่ายขาถูกทับหักโดยอ้างว่ารถสะดุดก้อนหินแล้วเบรกไม่อยู่

เวลา 17.30 น.วันที่ 30 มกราคม 2566 พ.ต.ท.สามารถ บุญฤทธิ์ สว.(สอบสวน)สภ.พนัสนิคม รับแจ้งจากหน่วยกู้ภัยสว่างเหตุทุ่งเหียงว่าเกิดอุบัติเหตุรถบรรทุกเฉี่ยวชนกัน มีผู้บาดเจ็บติดภายใน หลังรับแจ้งจึงเข้าตรวจสอบพร้อมอาสากู้ภัย ที่เกิดเหตุอยู่บริเวณถนนบ้านแปลงกระถิน – เนินแพง ม.9 ต.หัวถนน อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

เมื่อมาถึงพบอาสากู้ภัยกำลังช่วยกันนำเครื่องตัดถ่างช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่ขาทั้งสองข้าง ถูกคอนโซรลหน้ารถบรรทุก 18 ล้อยี่ห้อฮีโน่ ทะเบียนส่วนหัว 86-3680 ชลบุรี ทับอยู่ ใช้เวลา 20 นาทีจึงสามารถนำตัวออกมาได้ ตรวจสอบพบบาดเจ็บที่ขาซ้ายท่อนล่างหัก ต้องปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากนั้นจึงรีบนำส่งรพ.พนัสนิคม ทราบชื่อต่อมาคือนายวรุต สุริยะ อายุ 30 ปี

จากการสอบถามนายทนงศักดิ์ ช่างคิด อายุ 41 ปี คนขับรถบรรทุก 18 ล้อยี่ห้อฮีโน่หัวสีขาวทะเบียน 82-2460 สุโขทัย เล่าว่าตนเองนำรถที่บรรทุกดินขึ้นจากบ่อดิน ขับมุ่งหน้าสู่ถนนใหญ่เพื่อไปปะยาง ระหว่างขับรถบรรทุกหนักใช้ความเร็วได้น้อย มีรถบรรทุกเปล่าขับเข้าบ่อพุ่งชนรถตนเองจนรถสบัด ตนเองลงจากรถได้จึงรีบมาดูคู่กรณี ได้ยินผู้บาดเจ็บเอ่ยปากขอโทษว่าผิดเองไม่ทันระวัง และร้องขอให้ช่วย คนขับรถคู่กรณีบาดเจ็บติดภายใน เบื้องต้นคาดว่าคู่กรณีน่าจะรีบร้อนไปบรรทุกดินอย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่จะได้เชิญตัวคนขับรถทั้ง2ฝ่ายมาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ส่วนผู้บาดเจ็บจะได้ตามไปสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงก่อนดำเนินการตามขั้นตอนของกฏหมายต่อไป

ภาพ/ข่าว วิศาล แสงเจริญ ผู้สื่อข่าว ประจำ จ.ชลบุรี

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม