Chonburi Sponsored

สองผัวเมียตามหาญาติพลัดพรากเกือบ 50 ปี หวังได้พบหน้าก่อนลาจากโลกใบนี้ | เดลินิวส์

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 66 ผู้สื่อข่าวได้รับการประสานขอความช่วยเหลือจากพลเมืองดี ซึ่งได้พบกับสองสามีภรรยา อายุราว 60 ปี ได้เดินทางมาตามหาญาติในพื้นที่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ขอให้มาทำการตรวจสอบ และช่วยเหลือ เนื่องจากทั้งคู่มีความชรามากแล้ว เกรงจะเกิดอุบัติเหตุ หรือได้รับอันตรายจากภัยสังคม

หลังรับแจ้งผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ จนพบกับสองผัวเมียในมือฝ่ายหญิงถือไม้เท้า ฝ่ายชายประคอง เดินพยุงกันไปตามถนนหนทาง ภายในตลาดเช้าสัตหีบ เป็นภาพที่สุดน่าเวทนาใจอย่างมาก จึงได้แสดงตัวขอเข้าทำการช่วยเหลือ ซึ่งหลังเจรจาทั้งคู่ยินยอมให้เข้าช่วยเหลือติดตามหาญาติ

จากการสอบถามทราบชื่อ นายสงวน จันทนา อายุ 60 ปี ชาว อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร และนางทิพย์วัล จันทรา หรือนามสกุลเดิม (บุญมานุช) อายุ 63 ปี ชาว จ.ชัยภูมิ ทั้งคู่ได้นั่งรถตู้โดยสารออกมาจากสมุทรสาคร เมื่อช่วงเวลา 15.00 น. ของวันที่ 27 ม.ค. 66 ถึงจุดหมายปลายทางอำเภอสัตหีบ ในเวลา 20.00 น. ก่อนทั้งคู่จะพากันไปหลับนอนอยู่ภายในวัดสัตหีบ รุ่งเช้าได้พากันออกเดินตามหาญาติที่ไม่เคยพบหน้ากันมานานับสิบปี มีข้อมูลเพียงชื่อ ไล อายุราว 80 ปี เป็นชาวชัยภูมิ มีบุตรชื่อ อู๊ด อ้วน และโหน่ง มีธุรกิจบ้านเช่า มีศักดิ์เป็นป้าของ นางทิพย์วัล ด้วยข้อมูลที่ไม่ชัดเจน ทำให้การออกตามหาไม่เป็นผลสำเร็จ จึงตัดสินใจนำสองผัวเมียขึ้นรถตู้โดยสาร เดินทางกลับสู่บ้านที่เดินทางมาในจังหวัดสมุทรสาคร และหากมีการตามหาจนพบ จะดำเนินการไปรับตัวมาให้ทั้งคู่ได้พบหน้ากันดั่งที่ตั้งใจไว้

นายสงวน ผู้เป็นสามี เปิดเผยว่า ได้อยู่ครองรักกับภรรยามานานหลายสิบปี จนถึงวันที่ทั้งคู่เริ่มแก่เฒ่า ภรรยาก็เจ็บป่วยหลายโรค เข้าออกรักษาตัวยังโรงพยาบาลทุกเดือน ที่ผ่านมา ภรรยาได้พูดถึงนางไล ผู้เป็นป้า ซึ่งมีความรักความผูกพันกันมาตั้งแต่ในวัยเด็ก หลังอายุได้เพียง 10 กว่าขวบ ก็ต้องพลัดพรากจากกัน และไม่เคยพบหน้ากันอีกเลย ระยะหลังภรรยา พูดถึงผู้เป็นป้าบ่อยครั้ง รวมถึงทางญาติที่เคยมาพบบอกว่า นางไล อยากให้มาหา จึงขอร้องให้ตนเอง พาเดินทางมายัง อ.สัตหีบ เพื่อออกตามหาผู้เป็นป้า หวังได้พบหน้ากันอีกสักครั้ง ถือเป็นความฝันสุดท้าย อยากพบเจอคนที่รักและผูกพัน ก่อนที่ชีวิตจะสิ้นลมลาจากโลกนี้ไป.

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้