Chonburi Sponsored

รมว.แรงงาน เป็นประธานพระราชทานศพ พ่อดีเด่นแห่งชาติ มีผู้ร่วมไว้อาลัยจำนวนมาก

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
สยามรัฐออนไลน์ 20 กุมภาพันธ์ 2565 22:32 น. ภูมิภาค

วันที่ 20 ก.พ.65 เวลา 16.00 น. ที่วัดใหม่เกตุงาม ต.บ้านปึก อ.เมือง จ.ชลบุรี นายสุชาติ ชมกลิ่น หรือ เฮ้ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ เป็นกรณีพิเศษ คุณพ่อศิริ อินทโชติ หรือคุณพ่อแช อายุ 87 ปี พ่อดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2553 โดยมี ข้าราชการ ตำรวจ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ มาร่วมงานกันอย่างมากมาย นายเกษม อินทโชติ กำนันจิ้ม อดีตกำนันตำบลบ้านปึก นายประสิทธิ์ อินทโชติ นายอำเภอพนัสนิคม และนายรังสรรค์ อินทโชติ กำนันตำบลบ้านปึก และครอบครัว “อินทโชติ” ให้การต้อนรับ

โดยภายในงานได้จัดให้มีกิจกรรมการแสดงโขนตอน พระรามตามกวาง ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา รวมทั้งการมอบทุนและปัจจัยให้กับวัดต่างๆ ประกอบไปด้วย วัดใหม่เกตุงาม 30,000 บาท วัดบางเป้ง 10,000 บาท วัดเตาปูน 10,000 บาท โรงเรียนวัดใหม่เกตุงาม 10,000 บาท โรงเรียนวัดเตาปูน 10,000 บาท โรงเรียนบ้านหนองไม้ยางดำ จ.พิษณุโลก 10,000 บาท

หลังจากนั้น นายสุชาติ ได้เป็นประธานในการพระราชทานเพลิงศพ คุณพ่อศิริ อินทโชติ หรือพ่อแช อายุ 87 ปี พ่อดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2553 โดยมีผู้มาร่วมงานไว้อาลัย เป็นจำนวนมาก

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม