Chonburi Sponsored

สายคราฟต์ห้ามพลาด เวิร์คช็อปทำงานหัตถกรรม 4 ภาค

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored


กลับมาอีกครั้งกับศูนย์รวมสินค้าและคนรักงานคราฟต์ ในงาน ART & CRAFT MARKET โดยในครั้งนี้ ศูนย์การค้าเดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 จัดขึ้นในคอนเซปต์งานคราฟต์ 4 ภาค ช้อปเพลินกับสินค้าแฮนด์เมดหลากหลาย ดีไซน์ ทั้งงานมัดย้อม งานผ้าบาติก เครื่องประดับทำมือ เครื่องจักรสาน กระเป๋าผ้า​ควิลท์มือ​ และ งานดีไซน์ของตกแต่งบ้าน กว่า 30 ร้านค้า ตั้งแต่วันที่ 24 – 27 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00 น. – 20.00 น. บริเวณ ลานไนน์สแควร์ ศูนย์การค้าเดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9


ภายในงานพร้อมให้มาชื่นชมสินค้า และพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้การทำงานคราฟต์พื้นเมืองจากเหล่าผู้ประกอบการงานคราฟต์อย่างเต็มที่ อาทิ ร้าน BAAN CHANG จำหน่ายผ้าบาติกเขียนลาย บ้านช้าง อำเภอพนัสนิคม สินค้า Otop 5 ดาว ของจังหวัดชลบุรี ร้าน Maybe Jewelry เครื่องประดับแฮนเมดขึ้นรูปและทำด้วยมือทั้งหมดทุกกระบวนการ ในรูปแบบเครื่องประดับแฟชั่นร่วมสมัย และแบบเครื่องถมไทยโบราเอกลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ร้านเปลือกไม้ จำหน่ายชุดชาวเขา ปัก​ด้นมือ​เอกลักษณ์เฉพาะตัว​ ภายในร้านมีผู้เชี่ยวชาญการแต่งกายภาคเหนือ​ช่วยแนะนำรูปแบบการใส่ผ้าพื้นเมืองที่​เหมาะกับผู้สวมใส่รับรองว่าได้สไตล์ที่ใช้และสวมใส่ได้คุ้มค่า ทุกชิ้น และ ร้าน Indyblue จากภาคอีสาน ผู้ผลิตเสื้อมัดย้อม​ สีธรรมชาติสำหรับ​แม่​และ​เด็ก ในคอนเซ็ปต์ “ปลอดภัยทั้งโลก ปลอดภัยทั้งเรา” โดยทุกขึ้นตอนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่าที่สุด


ไฮไลต์อยู่ที่เวิร์คช็อปทำงานคราฟต์ ที่ปีนี้นำสินค้าทำมือดีๆ จาก 4 ภาคในไทย มาเป็นไอเดียประดิษฐ์ของใช้สวยๆ ชิ้นเดียวในโลก สร้างควมภูมิใจและเป็นแนวทางในการทำอาชีพให้กับลูกค้าทุกท่าน โดยแบ่งเป็นตารางเวิร์คช็อปวันละ 1 ภาค เริ่มจาก วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 พบเวิร์คช็อปภาคใต้ร้อยต่างหูหิน และมุกอันดามัน จากร้านสยามจิวเวลรี่ในเวลา 12.00 น. เป็นต้นไป วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 พบกับ เวิร์คช็อปภาคกลางทำเทียนหอมไอศกรีม จากร้านหมุนเวียน ตั้งแต่เวลา 13.00 น. – 15.00 น.


ต่อด้วย วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 พบกับ เวิร์คช็อปภาคอีสาน ย้อมผ้าเช็ดหน้าจากผลมะเกลือ โดยผู้เชี่ยวชาญเรื่องการย้อมผ้าโดยสีธรรมชาติ จากร้าน Indy Blue ในเวลา 12.00 น. เป็นต้นไป ปิดท้ายด้วย วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2565 พบกับ เวิร์คช็อปภาคเหนือ ตกแต่งพู่ชนเผ่า สีสันสดใส จากร้านเปลือกไม้ สำหรับนำไปประดับบ้าน หรือตกแต่งเครื่องแต่งกาย ในเวลา 12.00 น. เป็นต้นไป โดยทุกกิจกรรมสามารถเข้าร่วมได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ( จำกัดจำนวนผู้ร่วมเวิร์คช็อป ไม่เกิน 15 คน ต่อรอบ โดยรักษาระยะห่างและความสะอาดตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด -19 อย่างเคร่งครัด )

ติดตามกิจกรรมและโปรโมชั่นดีๆ ของศูนย์การค้าเดอะไนน์ เซ็นเตอร์พระราม 9 ได้ที่ www.thenine.co.th  หรือ เฟซบุ๊กเพจ  The Nine Center Rama 9 และ อินสตาแกรม thenine_rama 9

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม