Chonburi Sponsored

แสนยานุภาพ ทร. โชว์อาวุธเสริมเขี้ยวเล็บป้องกันภัยทางอากาศ

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

24 ม.ค.2566 – พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ(ผบ.ทร.) พร้อมคณะทำงาน ตรวจเยี่ยมหน่วยกำลังรบป้องกันภัยคุกคามทางอากาศ และรักษาฝั่ง พื้นที่ชายฝั่งตะวันออก โดยมี นาวาเอก ศุภสิทธิ์ บูรณะโอสถ รองผู้บัญชาการฯ รักษาราชการ ผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (รรก.ผบ.สอ.รฝ.) นำกำลังพลกว่า 2,000 นาย พร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ แถวรับการตรวจความพร้อม ณ หน้ากองบัญชาการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

โอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้ชมอาวุธที่ทรงแสนยานุภาพชุดใหม่ ที่นำมาจัดแสดงเข้าประจำการยังหน่วยรบ สอ.รฝ. ประกอบด้วย FK-3 SYSTEM (จีน) ระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะปานกลาง แบบเคลื่อนที่ ใช้อาวุธปล่อยนำวิถีแบบ พื้นสู่อากาศ ด้วยลูกจรวดหัวรบ MISSILE สามารถโจมตีเป้าหมายทางอากาศได้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่อากาศยานปีกตรึง รวมถึงอากาศยานไร้คนขับ UAV ,อาวุธปล่อยนำวิถีแบบร่อน , อาวุธปล่อยนำวิถีแบบอากาศสู่พื้น และอากาศยานปีกหมุน รวมถึงเฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธ มีพิสัยการยิงระหว่าง 5-100 กม. และเพดานยิงสูงสุด 0.05 – 27 กม. FK-3 จำนวน 1 ระบบ จะมีรถยิงจรวด 2 คัน แต่ละแท่นยิงสามารถบรรจุลูกจรวดได้ 4 ลูก ทั้งระบบจะมีลูกจรวดรวมกัน 8 ลูก

นอกจากนี้ ยังมีแท่นยิงอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานระยะใกล้ แบบเคลื่อนที่ IGLA-S ติดตั้งกับรถยนต์เฉพาะการ ชนิดแท่นยิงคู่ ติดตั้งลูกอาวุธนำวิถี จำนวน 2 ลูก สามารถยิงทีละ 1 ลูก หรือ 2 ลูก พร้อมกัน มีระยะยิงอยู่ที่ 500 – 6,000 เมตร

ทั้งนี้ระบบป้องกันภัยทางอากาศพิสัยกลางแบบ FK-3 เป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศ ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุด ที่มีประจำการในกองทัพไทย ถือเป็นอาวุธที่ทรงแสนยานุภาพ ในการป้องกันภัยทางอากาศ ที่จะเสริมเขี้ยวเล็บให้กับกองทัพเรือไทยอย่างมาก

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้