Chonburi Sponsored

ซูฮกเฮ้ง “สมชาติ น้องกำนันเป๊าะ” ชลบุรีต้องเปลี่ยน

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ดราม่าเมืองน้ำเค็ม “สมชาติ น้องกำนันเป๊าะ” ซูฮกเฮ้ง สุชาติ ชมกลิ่น สุดยอดใจนักเลง ถึงเวลาชลบุรีต้องเปลี่ยนแปลง

หลังสิ้นประมุขบ้านใหญ่ “สมชาติ น้องกำนันเป๊าะ” เปิดศึกหลานชาย ณรงค์ชัย คุณปลื้ม ลงสนามชิงเก้าอี้นายกเล็กแสนสุข ถึงแพ้แต่ก็ไม่ถอย

คนบ้านเดียวกัน “สมชาติ น้องกำนันเป๊าะ” กับสุชาติ ชมกลิ่น ในฐานะคนหนองมน ขอเลือกข้างพลังใหม่ ไม่เอากลุ่มเรารักชลบุรีของหลานตัวเอง

วันที่ 20 ก.พ.2565 มีการแสดงพลังของกลุ่มคนรักเสี่ยเฮ้ง มีทั้งนายกเทศมนตรี, นายก อบต. และผู้นำท้องถิ่นในเขตพื้นที่ อ.เมืองชลบุรี, อ.พานทอง และ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี หลังเกิดศึกวิวาทะระหว่างสนธยา คุณปลื้ม ตัวแทนกลุ่มพลังบ้านใหญ่ กับสุชาติ ชมกลิ่น ผู้นำกลุ่มพลังใหม่

ในกลุ่มผู้มาให้กำลังใจเสี่ยเฮ้ง ก็มี “ทิดเล็ก” สมชาติ คุณปลื้ม น้องชายกำนันเป๊าะ-สมชาย คุณปลื้ม อดีตนายกเทศมนตรีเมืองแสนสุข

“ผมอยู่กับรัฐมนตรีเฮ้งมานานหลายปี ตั้งแต่เด็กๆ ความจริงไม่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลง แต่มีความจำเป็นจริงๆ ที่จะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง สำหรับผมเห็นการทำงานของรัฐมนตรีเฮ้ง ยอมรับว่า สุดยอดใจนักเลงเกินร้อยเปอร์เซ็นต์ ช่วยอย่างเดียวไม่หวังอะไรตอบแทน”

สมชาติ คุณปลื้ม กับสุชาติ ชมกลิ่น ต่างก็เป็นคนหนองมน ชลบุรี จึงรู้จักมักคุ้นกันอย่างดี และที่สำคัญ ทั้งสองก็อยู่ใต้ร่มไม้ชายคาบ้านใหญ่แสนสุข สมัยที่กำนันเป๊าะยังมีชีวิตอยู่

‘ศึกสายเลือด’

ต้นปี 2564 ปี่กลองเลือกตั้งท้องถิ่นดังก้อง “สมชาติ น้องกำนันเป๊าะ” ตัดสินลงสมัครชิงเก้าอี้นายกเทศมนตรีเมืองแสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี โดยคู่แข่งคือ ตุ้ย-ณรงค์ชัย คุณปลื้ม อดีตนายกเทศมนตรีเมืองแสนสุข และลูกชายคนเล็กของกำนันเป๊าะ

คนแถวหาดบางแสนวิจารณ์กันขรม กรณีศึกสายเลือดอา-หลาน ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ก็เกิดขึ้นแล้ว หลังจากกำนันเป๊าะ สมชาย คุณปลื้ม เสียชีวิตเมื่อปี 2562

ฝ่ายแชมป์เก่า ณรงค์ชัย ได้ สท.เหี่ยว-ภาสกร หอมหวล มือขวากำนันเป๊าะ เป็นกุนซือ มีความได้เปรียบ เพราะมีขุมกำลังกลุ่มเรารักชลบุรี จากสนธยา-วิทยา มาสนับสนุนเต็มที่

ส่วนทิดเล็ก-สมชาติ คุณปลื้ม วัย 70 ปี ลงสนามในนามกลุ่มเรารักษ์แสนสุข และได้ปรึกษาหารือกับสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ในฐานะเป็นคนหนองมนบ้านเดียวกัน

สำหรับการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีในเขต อ.เมืองชลบุรี จำนวน 6 แห่ง ปรากฏว่า รัฐมนตรีเฮ้ง ส่งทีมลงสมัครนายกเล็ก 5 แห่งในนามกลุ่มพลังใหม่ ยกเว้นเทศบาลตำบลแสนสุข

ผลการเลือกตั้งครั้งนั้น พบว่า กลุ่มพลังใหม่ของเสี่ยเฮ้ง คว้าเก้าอี้นายกเล็กได้ 4 แห่ง และพ่ายกลุ่มบ้านใหญ่แห่งเดียวเทศบาลอ่างศิลา

ส่วนการเลือกตั้งเทศบาลเมืองแสนสุข ณรงค์ชัย คุณปลื้ม เอาชนะสมชาติ คุณปลื้ม ด้วยคะแนน 11,976 ต่อ 6,122 คะแนน ไปตามความคาดหมาย

‘กำนันเป๊าะ-ทิดเล็ก’

ในวันที่ทายาทตระกูลปลื้มยังเป็นเด็กๆ “สมชาติ น้องกำนันเป๊าะ” เดินเคียงข้างพี่ชาย ผาดโผนในยุทธจักรธุรกิจและการเมือง

นักข่าวรุ่นเก่ารู้จักทิดเล็ก สมชาติ เป็นอย่างดี เพราะเขามีบทบาทในการด้านกีฬา หลายคนคงจำสโมสรส่งเสริมกีฬาแสนสุข และฟุตบอลรายการชิงถ้วยแสนสุขคัพ ที่กำนันเป๊าะชื่นชอบมาก

สมัยที่นิคม แสนเจริญ น้องชายสติล คุณปลื้ม เป็น ส.ส.ชลบุรี พรรคกิจสังคม ฝ่ายทิดเล็ก สมชาติ คุณปลื้ม เป็นนายกเทศมนตรีตำบลแสนสุข และเป็นอยู่ 2 สมัย ก่อนถอยออกมา เพื่อเปิดทางให้คนรุ่นใหม่เข้ามาทำงาน

ทิดเล็ก สมชาติ วางมือไป 10 ปี จึงตัดสินหวนคืนสนามการเมืองท้องถิ่น โดยอ้างว่า ชาวบ้านต้องการให้เขากลับมาช่วยเหลือ โดยชูคำขวัญในการหาเสียงว่า “คิดถึงกำนันเป๊าะ คิดถึงทิดเล็ก”

จะว่าไปแล้ว นักการเมืองท้องถิ่นแถวชลบุรี ที่สังกัดกลุ่มพลังใหม่ของเสี่ยเฮ้งในวันนี้ ก็คือลูกน้องกำนันเป๊าะทั้งนั้น

ทุกคนที่ย้ายข้างต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ตนเองเป็นลูกน้องกำนันเป๊าะ แต่ไม่ได้เป็นลูกน้องของทายาทกำนันเป๊าะ

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม