Chonburi Sponsored

ผบ.ทร. มอบเงินช่วยเหลือ 76 กำลังพลบาดเจ็บ เรือหลวงสุโขทัยอับปาง

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

การเมือง

18 ม.ค. 2566 เวลา 16:56 น.

ผบ.ทร. มอบเงินช่วยเหลือ 76 กำลังพลบาดเจ็บ เรือหลวงสุโขทัยอับปาง ส่วนความคืบหน้าการค้นหาผู้สูญหาย จำนวน 5 นาย ยังไม่พบ

18  มกราคม 2566 พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์  ผู้บัญชาการทหารเรือ  มอบเงินช่วยเหลือให้แก่กำลังพลกองทัพเรือที่ได้รับบาดเจ็บและประสบภัย จากเหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยอับปาง ณ อาคารเอนกประสงค์ “ป้องนภา รักษาฝั่ง” หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี  

    จากเหตุการณ์ เรือหลวงสุโขทัย อับปางเนื่องจากสภาพอากาศคลื่นลมในทะเลรุนแรง มีคลื่นสูง ทำให้กำลังพลกองทัพเรือได้รับบาดเจ็บ สูญหาย และเสียชีวิต  นั้นกองทัพเรือ โดย พลเรือเอก เชิงชาย  ชมเชิงแพทย์  ผู้บัญชาการทหารเรือ  มีความเป็นห่วงครอบครัวกำลังพลที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว   พร้อมทั้งได้เร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิกำลังพล ดำเนินการเพื่อให้การช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อน แก่ครอบครัวของกำลังพลในด้านต่าง ๆ ตามระเบียบข้อบังคับอย่างเร่งด่วน  โดยครอบครัวผู้ที่เสียชีวิตและสูญหายนั้น  กองทัพเรือได้มอบหมายให้กรมสวัสดิการทหารเรือ รวบรวมสิทธิกำลังพลที่ทายาทและครอบครัวพึงได้รับ ประกอบด้วย เงินค่าสินไหมทดแทนประกันภัยหมู่แบบ “เฉพาะกิจ” กองทัพเรือ เงินช่วยเหลือจากกองทุนน้ำใจไทยเพื่อผู้เสียสละในจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่รับผิดชอบ กองทัพเรือ เงินสวัสดิการสงเคราะห์ข้าราชการตามระเบียบกรมสวัสดิการทหารเรือว่าด้วยเงินสวัสดิการสงเคราะห์ข้าราชการปฏิบัติราชการชายแดน พ.ศ.2561 และเงินฌาปนกิจสงเคราะห์แห่งราชนาวี สำหรับผู้ที่สมัครเป็นสมาชิก โดยมอบให้ทายาทและครอบครัว เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนไปแล้วส่วนหนึ่ง

สำหรับในวันนี้ เป็นการมอบเงินช่วยเหลือกำลังพลกองทัพเรือที่ได้รับบาดเจ็บและประสบภัย  จากเหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยอับปางจำนวน  76   นาย  แยกเป็น กำลังพลที่รับบาดเจ็บจำนวน  27 นาย และกำลังพลที่ประสบภัยจำนวน 49 นาย   

ด้าน พลเรือเอก ปกครอง  มนธาตุผลิน  โฆษกกองทัพเรือ เปิดถึงการค้นหาผู้สูญหายอีก 5 นาย จากเหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยอับปาง  ว่า กองทัพเรือ ยังคงดำรงการค้นหาต่อเนื่อง พร้อมทั้งได้ประสานไปยัง ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) โดย ศรชล.ภาค 1 ศรชล.ภาค 2  ศรชล.จ.ประจวบคีรีขันธ์  ศรชล.จ.ชุมพร ศรชล. สุราษฎร์ธานี  รวมถึง เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ ตลอดจนผู้นำท้องถิ่นที่มีพื้นที่ติดชายทะเล  และ หน่วยกู้ภัยให้เฝ้าระวังและประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือกับประชาชนในพื้นที่ หากมีการตรวจพบวัตถุหรือสิ่งบ่งชี้ใดๆก็ตาม ขอให้แจ้งมายัง ศรชล. ของแต่ละพื้นที่ หรือที่ สายด่วน ศรชล.หมายเลขโทรศัพท์ 1465   สำหรับผลการปฏิบัติจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการพบผู้สูญหายเพิ่ม  ซึ่งหากมีความคืบหน้าทางสำนักงานโฆษกกองทัพเรือ  จะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไป   

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้