Chonburi Sponsored

'ฉลามชล'เปิดตัว'ดิเอโก้ บาร์ดันก้า' ลูกครึ่งสเปน-ฟิลิปปินส์เสริมแนวรับ

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

สโมสร ชลบุรี เอฟซี เปิดตัว ดิเอโก้ บาร์ดันก้า ปราการหลังดีกรี ทีมชาติ ฟิลิปปินส์ จาก สโมสร บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ที่ย้ายมาเป็นสมาชิกใหม่ ในถิ่น ชลบุรี ยูทีเอ สเตเดี้ยม ด้วยสัญญายืมตัวจนจบฤดูกาล เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยถือเป็นนักเตะใหม่รายที่ 2 ต่อจาก เจสซี่ เคอร์แรน  

โดย ดิเอโก้ บาร์ดันก้า ได้เดินทางมารายงานตัวกับสโมสร เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา (15 ธ.ค.) ณ สำนักงานสโมสร ชลบุรี เอฟซี ภายในสนาม ชลบุรี ยูทีเอ สเตเดี้ยม ก่อนที่จะเตรียมลงสนามฝึกซ้อมกับเพื่อนร่วมทีมใหม่เป็นมื้อแรกทันที

สำหรับ ดิเอโก้ บาร์ดันก้า ย้ายมาร่วมทัพ “ปราสาทสายฟ้า” ในช่วงก่อนเปิดฤดูกาล 2022/23 โดยลงสนามให้กับ สโมสร บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในศึก รีโว่ ไทยลีก เลกแรก ไปทั้งสิ้น 7 นัด (ตัวจริง 5 สำรอง 2) ทำได้ 1 ประตู

ปัจจุบัน “บาร์ดันก้า”อายุ 29 ปี มีส่วนสูง 190 เซนติเมตร ผ่านการลงเล่นในทีมเยาวชน ของ เดปอร์ติโบ ลา คอรุนญา, เรอัล บายาโดลิด, เรเครอาติโบ อูเอลบา รวมถึง เลบานเต้ ก่อนจะย้ายไปค้าแข้ง ให้กับหลากหลายสโมสร ทั้งใน สเปน อย่าง เอลเดนเซ, เรอัล ฆาเอน, อิบิซา, คิมนาสติก้า, รวมถึงในต่างประเทศ ได้แก่ เอสเจเค เซนาโยเอน (ฟินแลนด์), บิโตเวีย บิโตฟ (โปแลนด์), เอฟเค อินดิยา (เซอร์เบีย), กอริก้า (สโลวีเนีย), โลโคโมทีฟ ทาชเคนต์ (อุซเบกิสถาน) และ ปุสซา นีโปโลมิเซ (โปแลนด์)

ซึ่งการย้ายมาร่วมทัพ “ฉลามชล” ในครั้งนี้ ดิเอโก้ บาร์ดันก้า จะสวมเสื้อหมายเลข  86 ลงเล่นให้กับทีม ตลอดการแข่งขัน ในเลก 2

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม