Chonburi Sponsored

“ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี” นำขับกล่อม คุณค่าศิลปะ มหกรรม “ฟื้นใจเมือง”

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

นับเป็นการแสดงอันทรงเกียรติเป็นอย่างยิ่งสำหรับพิธีเปิดมหกรรม “ฟื้นใจเมือง” ณ ศาลเจ้าฉื่อปุยเนี้ยว-ขอเล่งเนี้ยว อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้สนับสนุนทุนวิจัยพัฒนาพื้นที่ จัดมหกรรม “ฟื้นใจเมือง” ด้วย “เศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานทุนทางวัฒนธรรมชุมชน” ซึ่งเป็นมหกรรมอันทรงคุณค่าทางด้านศิลปวัฒนธรรมของพื้นที่ ในการจัดมหกรรมนี้ได้รับเกียรติจาก ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยมีนางสาวฐิติรัตน์ คำพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ร่วมให้การต้อนรับ

โดยการแสดงในงานเป็นการบรรเลงเพลงของวงออเคสตราโดย สุกรี เจริญสุข พร้อมด้วย การแสดงร่วมกันของศาสตราจารย์ ปรีชา เถาทอง, เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ขับกลอน และ ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี มาร่วมเป่าขลุ่ยขับความสุนทรี ซึ่งถือได้ว่าเป็นการแสดงอันทรงเกียรติ โดยในงานยังมีจุดเด่นคือ ดงดอกจักสาน งานศิลปกรรมขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ใจกลางงาน ได้รับแรง บันดาลใจจากการนำงานจักสานซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมของเมืองพนัสนิคม มาประ ยุกต์และพัฒนาต่อยอดให้มีความร่วมสมัยมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีซุ้มหน้ากากเอ็งกอ ที่เป็นงานศิลปะร่วมสมัยให้ผู้เข้าชมงานได้มาร่วมถ่ายรูปกัน และยังมีโชว์พิเศษนำขบวนพาเหรดคณะเอ็งกอและขบวนกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่แต่งตัวร่วมสมัยด้วยเครื่องจักสานจากพนัสนิคม กิจกรรมกินลมชมหนังกลางแปลง และการละเล่นทายโจ๊ก สร้างความเพลิดเพลินตลอดงาน.

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม