Chonburi Sponsored

พลิกที่ดิน 77 จังหวัด 'ราคาประเมิน' ถูกที่สุดในประเทศไทย วาละ 25-1,000 บาท

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

พลิกที่ดิน 77 จังหวัด ‘ราคาประเมิน’ ถูกที่สุดในประเทศไทย วาละ 25-1,000 บาท

เมื่อวันที่ 15 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาประเมินที่ดินใหม่รอบปี 2566-2569 ประกาศใช้อย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา โดยภาพรวมทั้งประเทศราคาปรับขึ้น 8.93% โดยกรุงเทพมหานคร ปรับขึ้น 2.69% และต่างจังหวัดปรับขึ้น 8.81%

สำหรับราคาประเมินสูงสุดของประเทศไทย ยังคงอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และในแนวรถไฟฟ้าพาดผ่าน โดยราคาอยู่ที่ 1 ล้านบาทต่อตารางวา (ตร.ว.) ในย่าน 4 ถนนสำคัญ ได้แก่ ถนนสีลม ถนนเพลินจิต ถนนพระรามที่ 1 (ช่วงถนนราชดำริ-ถนนพญาไท) และถนนวิทยุ

อย่างไรก็ตาม ราคาประเมินไม่ได้บอกแค่ว่าประเทศไทยมีราคาประเมินที่แพงที่สุดอยู่ทำเลไหนเท่านั้น ยังได้สะท้อนถึงราคาประเมินที่ต่ำสุดของประเทศเช่นกัน โดยส่วนใหญ่เป็นทำเลที่ความเจริญยังเข้าไม่ถึง ไม่มีทางเข้า-ออก หรือเป็นที่ดินตาบอดนั่นเอง

นายฐนัญพงษ์ สุขสมศักดิ์ ผู้อำนวยการกองประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ กล่าวว่า ราคาประเมินต่ำสุดในรายจังหวัด ทั้ง 77 จังหวัด

กรุงเทพฯ อยู่ที่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน 500 บาท/ตร.ว., จ.กำแพงเพชร อ.โกสัมภีนคร อ.ไทรงาม อ.คลองขลุง อ.ปางศิลาทอง อ.ทรายทองวัฒนา อ.ขาณุวรลักษบุรี อ.คลองลาน 100 บาท/ตร.ว.

จ.ชลบุรี อ.พนัสนิคม 250 บาท/ตร.ว., จ.สระแก้ว อ.เมืองสระแก้ว อ.คลองหาด อ.วังน้ำเย็น อ.เขาฉกรรจ์ 50 บาท/ตร.ว., จ.สุราษฎร์ธานี อ.เคียนชา อ.ไชยา อ.ท่าชนะ อ.เวียงสระ 150 บาท/ตร.ว.

จ.ตาก อ.อุ้มผาง 80 บาท/ตร.ว., จ.ชัยนาท อ.เนินขาม 80 บาท/ตร.ว., จ.สระบุรี อ.หนองโดน อ.ดอนหุด 130 บาท/ตร.ว., จ.พิษณุโลก อ.ชาติตระการ 30 บาท/ตร.ว.

จ.มุกดาหาร อ.ดงหลวง 50 บาท/ตร.ว., จ.สมุทรสงคราม อ.เมืองสมุทรสงคราม อ.อัมพวา 150 บาท/ตร.ว., จ.ราชบุรี อ.ปากท่อ อ.สวนผึ้ง อ.บ้านคา 75 บาท/ตร.ว.

จ.เพชรบูรณ์ อ.บึงสามพัน 60 บาท/ตร.ว., จ.ตรัง อ.ย่านตาขาว อ.ปะเหลียน อ.ห้วยยอด อ.รัษฎา อ. กันตัง อ.สิเกา อ.วังวิเศษ 100 บาท/ตร.ว.

จ.นครสวรรค์ อ.ตากฟ้า อ.ตาคลี อ.ชุมแสง อ.บรรพตพิสัย อ.ท่าตะโก อ.ไพศาลี อ.หนองบัว อ. ลาดยาว อ.แม่วงศ์ อ.ชุมตาบง, อ.แม่เปิน 100 บาท/ตร.ว.

จ.ศรีสะเกษ อ.เบญจลักษณ์ 70 บาท/ตร.ว., จ.นครนายก อ.ปากพลี 200 บาท/ตร.ว., จ.ร้อยเอ็ด อ.หนองพอก อ.เมยวดี 80 บาท/ตร.ว., จ.สิงห์บุรี อ.อินทร์บุรี อ.บางระจัน อ.ท่าช้าง อ.ค่ายบางระจัน 150 บาท/ตร.ว.

จ.สุโขทัย อ.บ้านด่านลานหอย 50 บาท/ตร.ว., จ.ขอนแก่น อ.เปือยน้อย อ.แวงใหญ่ 70 บาท/ตร.ว., จ.กระบี่ อ.เหนือคลอง 120 บาท/ตร.ว., จ.ตราด อ.บ่อไร่ 75 บาท/ตร.ว.

จ.จันทบุรี อ.แก่งหางแมว 100 บาท/ตร.ว., จ.อำนาจเจริญ อ.เมืองอำนาจเจริญ 100 บาท/ตร.ว., จ.ระยอง อ.เขาชะเมา 100 บาท/ตร.ว., จ.ประจวบคีรีขันธ์ อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ อ.บางสะพานน้อย 100 บาท/ตร.ว.

จ.ปทุมธานี อ.ลำลูกกา 600 บาท/ตร.ว., จ.แม่ฮ่องสอน ต.แม่ละนา อ.ปางมะผ้า 30 บาท/ตร.ว., จ.สตูล อ.ละงู 75 บาท/ตร.ว., จ.นครปฐม อ.เมืองนครปฐม 150 บาท/ตร.ว.

จ.ลำพูน ต.ก้อ อ.ลี้ 80 บาท/ตร.ว., จ.สมุทรปราการ อ.พระสมุทรเจดีย์ 500 บาท/ตร.ว., จ.เพชรบุรี อ.ชะอำ 100 บาท/ตร.ว.,
จ.ลพบุรี อ.ลำสนธิ 30 บาท/ตร.ว.

จ.ลำปาง ต.แม่ปุ อ.แม่พริก 100 บาท/ตร.ว., จ.นครศรีธรรมราช อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.พิปูน อ.พระพรหม 75 บาท/ตร.ว., จ.ระนอง อ.กะเปอร์ 50 บาท/ตร.ว.

จ.สุรินทร์ เพิ่มขึ้น 4.8% อ. ศรีณรงค์  100 บาท/ตร.ว. , จ.สุพรรณบุรี อ.หนองหญ้าไซ อ.เดิมบางนางบวช อ. ด่านช้าง 100 บาท/ตร.ว.

จ.ปราจีนบุรี อ.กบินทร์บุรี 75 บาท/ตร.ว., จ.กาฬสินธุ์ อ.ท่าคันโท 90 บาท/ตร.ว., จ.เชียงราย อ.ดอยหลวง อ.แม่ฟ้าหลวง อ.เวียงแก่น อ.พาน 130 บาท/ตร.ว.

จ.หนองบัวลำภู อ.นากลาง อ.สุวรรณคูหา 65 บาท/ตร.ว., จ.เชียงใหม่ อ.แม่แจ่ม อ.อมก๋อย 25 บาท/ตร.ว., จ.นราธิวาส อ.จะแนะ อ.สุคิริน 50 บาท/ตร.ว.

จ.มหาสารคาม อ.เมือง อ.นาเชือก อ.โกสุมพิสัย อ.เชียงยืน อ.ชื่นชม อ.พยัคฆภูมิพิสัย อ.ยางสีสุราช อ.บรบือ อ.กุดรัง อ.กันทรวิชัย 100 บาท/ตร.ว.

จ.ปัตตานี อ.ไม้แก่น 90 บาท/ตร.ว., จ.สมุทรสาคร อ.บ้านแห้ว 350 บาท/ตร.ว., จ.พระนครศรีอยุธยา อ.ท่าเรือ อ.ภาชี อ.ผักไห่ อ.บางซ้าย 250 บาท/ตร.ว.

จ.พังงา อ.เมือง อ.กะปง 100 บาท/ตร.ว., จ.ชัยภูมิ อ.ภักดีชุมพล 40 บาท/ตร.ว., จ.สงขลา อ.สะบ้าย้อย 80 บาท/ตร.ว., จ.กาญจนบุรี อ.เมือง อ.ไทรโยค อ.ศรีสวัสดิ์ อ.บ่อพลอย อ.หนองปรือ อ.เลาขวัญ อ.ทองผาภูมิ อ.สังขละบุรี 50 บาท/ตร.ว.

จ.น่าน อ.สองแคว อ.ปัว 50 บาท/ตร.ว., จ.อ่างทอง อ.เมือง อ.วิเศษชัยชาญ อ.แสวงหา 150 บาท/ตร.ว., จ.อุตรดิตถ์ อ.น้ำปาด 50 บาท/ตร.ว.

จ.พิจิตร อ.สากเหล็ก อ.วังทรายพูน อ.ตะพานหิน อ.ทับคล้อ อ.บึงนาราง อ.โพธิ์ประทับช้าง 50 บาท/ตร.ว.

จ.พัทลุง อ.ควนขนุน อ.ศรีบรรพต อ.ปากพยูน 100 บาท/ตร.ว., จ.ฉะเชิงเทรา อ.สนามชัยเขต อ.ท่าตะเกียบ 100 บาท/ตร.ว., จ.พะเยา อ.เชียงคำ 100 บาท/ตร.ว.

จ.นครพนม อ.ท่าอุเทน 85 บาท/ตร.ว., จ.ชุมพร อ.พะโต๊ะ 80 บาท/ตร.ว., จ.นครราชสีมา อ. เทพารักษ์ 50 บาท/ตร.ว., จ.สกลนคร ต.จันทร์เพ็ญ อ.เต่างอย 80 บาท/ตร.ว.

จ. บึงกาฬ อ.ศรีวิไล 130 บาท/ตร.ว., จ.ยโสธร อ.ไทยเจริญ 100 บาท/ตร.ว., จ. อุทัยธานี อ.หนองขาหย่าง อ.สว่างอารมณ์ อ.ทัพทัน อ.หนองฉาง อ.ลานสัก อ.ห้วยคต อ.บ้านไร่ 100 บาท/ตร.ว.

จ.ภูเก็ต อ.ถลาง 980 บาท/ตร.ว., จ.หนองคาย อ.สระใคร อ.ท่าบ่อ อ.โพธิ์ตาก อ.สังคม 100 บาท/ตร.ว., จ.ยะลา อ.ธารโต 40 บาท/ตร.ว., จ.อุบลราชธานี อ.บุณฑริก 50 บาท/ตร.ว.

จ.บุรีรัมย์ อ.ละหานทราย 75 บาท/ตร.ว., จ.นนทบุรี อ.บางบัวทอง อ.ไทรน้อย 1,000 บาท/ตร.ว., จ.แพร่ อ.เด่นชัย อ.วังชิ้น 50 บาท/ตร.ว., จ.เลย อ.ปากชม 70 บาท/ตร.ว. และ จ.อุดรธานี อ.บ้านผือ อ.น้ำโสม อ.นายูง อ.ไชยวาน 50 บาท/ตร.ว.

อ่าน : ส่องราคาประเมินที่ดินใหม่ ‘กรุงเทพฯ’ ถนนสายไหนแพงสุด ถูกสุด

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม