Chonburi Sponsored

เว็บไซต์รัฐบาลไทย

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม 2566

15/01/2566 พิมพ์  

​ลูกจ้างขนข้าวสารปลื้ม จับกัง 1 ส่ง กสร. เจรจาขอค่าแรงสำเร็จ

​รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ส่งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ลงพื้นที่ไกล่เกลี่ยสำเร็จ กรณีลูกจ้างขนย้ายข้าวสารประท้วงค่าแรงจังหวัดชลบุรี

         นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึง กรณีที่สื่อออนไลน์เสนอข่าว ว่า ลูกจ้างบริษัทค้าข้าวสารแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ชูป้ายประท้วงขอค่าแรง วอนเจ้าของสถานประกอบกิจการเห็นใจนั้น ตนได้สั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ส่งพนักงานตรวจแรงงานและพนักงานประนอมข้อพิพิพาทแรงงาน ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว เบื้องต้นได้รับรายงานว่า บริษัทดังกล่าว มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ประกอบกิจการค้าข้าว เวลา 09.00 น. วันที่ 14 มกราคม 2566 ลูกจ้างทำหน้าที่ขนส่งข้าวสารกลุ่มหนึ่ง รวมตัวกันประท้วงภายในบริษัทเกี่ยวกับประเด็นที่นายจ้างเปลี่ยนแปลงอัตราค่าตอบแทนการขนย้ายข้าวสารจากเดิมตันละ 50 บาทต่อลูกจ้าง 1 คน เป็น ตันละ 50 บาท ต่อลูกจ้าง 3 คน ซึ่งต่อมาผู้แทนนายจ้างได้มาเจรจากับกลุ่มผู้ประท้วง โดยนายจ้างยินดีที่จะกลับไปจ่ายอัตราค่าตอบแทนให้ตามเดิม และให้ลูกจ้างสามารถเลือกวิธีการคำนวณค่าตอบแทน 3 ตัวเลือก ซึ่งลูกจ้างในตำแหน่งดังกล่าวกว่า 60 คน ส่วนใหญ่เลือกอัตราค่าตอบแทนการขนย้ายข้าวสารจากเดิมตันละ 50 บาท ต่อพนักงาน 1 คน ตามเงื่อนไขเดิม ลูกจ้างเกิดความพึงพอใจจึงแยกย้ายกลับไปปฏิบัติงานตามปกติ

         ด้าน นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ในกรณีดังกล่าวพนักงานตรวจแรงงาน และพนักงานประนอมฯ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี ได้ลงพื้นที่ประนอมข้อพิพาทแรงงาน และชี้แจงทำความเข้าใจนายจ้าง ลูกจ้าง ให้มีการปฏิบัติต่อกันด้วยความถ้อยทีถ้อยอาศัย ใช้วิธีแก้ปัญหาร่วมกันด้วยการเจรจาปรึกษาหารือ บนพื้นฐานของแรงงานสัมพันธ์ที่ดีเพื่อความร่วมมือที่ดีต่อกันในอนาคตต่อไป

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม