Chonburi Sponsored

ทำงานหนักเหมือนควาย! พนง.ประท้วงขอค่าแรงชูป้ายวอนเจ้านายเห็นใจ – ข่าวสด

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

กลุ่มพนักงานบริษัทข้าวสาร รวมตัวประท้วงขอค่าแรง ยกข้าวสารเพียงตันละ 50 บาทต่อคนเหมือนเดิม หลังแจ้งเปลี่ยนแปลงให้ตันละ50 บาแต่ต้องทหารกัน 3 คน ตกคนละ17 บาทไม่พอกับรายจ่ายค่าครองชีพ

วันที่ 14 ม.ค.2566 ที่บริษัทข้าวสาร ริมถนนสุขประยูร ต.กุฏโง้ง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี กลุ่มพนักงานกว่า 50 คนรวมตัวประท้วงขอค่าแรง พร้อมมีป้ายข้อความ” ขอ 50 บาทเท่าเดิม ” และ ” ทำงานหนักเหมือนควาย แต่เจ้านายไม่เห็นใจ ” โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.พนัสนิคม เข้ามาเฝ้าดูสถานการณ์

ตัวแทนพนักงาน เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้พนักงานยกข้าวมีรายได้จากการยกข้าวสารเพียงตันละ 50 บาทต่อคนก็เพียงพออยู่แล้ว แต่ระยะหลังมาผู้บริหารได้แจ้งกับพนักงานว่าได้จ่ายค่าแรงผิดจากเดิมตันละ 50 บาทต่อคน

” เปลี่ยนมาตันละ50 บาทแต่หารกัน 3 คน ก็ตกคนละ17 บาทซึ่งไม่พอกับรายจ่ายในครอบครัวและค่าครองชีพ ทำให้พนักงานยกของไม่พอใจอยากเรียกร้องสิทธิของตัวเองจากที่เคยได้ตันละ50 บาทต่อคนกลับมาเหมือนเดิม ”

กลุ่มพนักงานบอกด้วยว่า อยากให้ฝ่ายผู้บริหารกลับไปทบทวนใหม่ที่มาตั้งค่าแรงตันละ 50 บาทหารกันต่อ 3-4 คน เป็นตันละ 50 บาทต่อคนเหมือนเดิม เพราะแต่ละคนก็อยู่มานานมากกว่า 10 ปีและมีความหวังในการสร้างอนาคตไว้กับบริษัทนี้อีกด้วย ”

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม