Chonburi Sponsored

พ่อ-แม่ “จ.ต.โสภณ” กำลังพล “ร.ล.สุโขทัย” เผยยังเฝ้ารอลูกชายทุกวัน

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ครอบครัวของ “จ.ต.โสภณ วงษ์สนิท” กำลังพลเรือหลวงสุโขทัย ที่ยังสูญหาย เดินทางมาร่วมงานทำบุญ ที่ท่าเรือประจวบ เปิดเผย ยังคงเฝ้ารอลูกชายทุกวัน ขณะที่ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 ยืนยัน ขณะนี้ มีกำลังพลผู้สูญหายอีก 6 นาย ซึ่งรวมถึง “ต้นเรือพลับ”

วันนี้ (11 ม.ค.2566) เวลา 08.35 น. บิดา มารดา และครอบครัวของ จ.ต.โสภณ วงษ์สนิท กำลังพลเรือหลวงสุโขทัย ที่ยังสูญหาย เดินทางมาร่วมงานทำบุญ ที่ท่าเรือประจวบ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่ง กองทัพเรือ และ บ.ท่าเรือประจวบ จำกัด จัดขึ้น เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กำลังพล ที่เสียชีวิตจากเหตุเรือหลวงสุโขทัยอับปาง เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2565

บิดา และ มารดา ระบุว่า ยังคงเฝ้ารอลูกชายทุกวัน แม้วันนี้ ยังหาไม่เจอก็ตาม ที่ผ่านมาได้ติดตามข่าวคราวการค้นหาของเจ้าหน้าที่ จากสื่อต่างๆ และ คนในครอบครัวโทรศัพท์ ไปสอบถามเจ้าหน้าที่

ขณะเดียวกัน คาดหวังว่า เจ้าหน้าที่จะยังไม่เลิกภารกิจการค้นหา และ ต้องการให้ค้นหาใน เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี มากขึ้น เพราะเชื่อว่ากระแสน้ำจะพัดพาร่างลูกชายไปทางนั้น

โดยครอบครัวของ จ.ต.โสภณ เดินทางมาจาก จ.กาญจนบุรี ไปเข้าพักที่สัตหีบ จ.ชลบุรี และ ขึ้นเครื่องบินของกองทัพเรือ เดินทางมาถึง อ.บางสะพาน เมื่อวานนี้ (10 ม.ค.)

ขณะที่ พล.ร.ท.โทพิชัย ล้อชูสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 ยืนยันว่า ขณะนี้ มีกำลังพลผู้สูญหายอีก 6 นาย ซึ่งรวมถึง น.ต.พลรัตน์ สิโรดมภ์ หรือ ต้นเรือพลับ ต้นเรือหลวงสุโขทัยด้วย

ทั้งนี้ในระหว่างมีพิธีวันนี้ ทางกองทัพเรือ ได้นำเรือหลวง ออกจากพื้นที่เพื่อส่งนักประดาน้ำไปสำรวจ และเก็บกู้อวน ที่เกี่ยวพันใต้น้ำ บริเวณจุดที่เรือหลวงสุโขทัยปอัปปาง ห่างฝั่งบางสะพาน ตรงจุดนี้ ประมาณ 20 กิโลเมตร ในทะเล และมีระดับความลึก กว่า 40 เมตร

กำลังพลที่ยังสูญหาย 5 นาย และรอผลพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล 1 นาย ประกอบด้วย

1. น.ต.พลรัตน์ สิโรดมภ์ (ต้นเรือพลับ) เรือหลวงสุโขทัย
2. จ.ต.โสภณ วงษ์สนิท เรือหลวงสุโขทัย
3. พลทหารชัยชนะ ช่างวาด เรือหลวงสุโขทัย
4. พลทหารอับดุลอาซีด มะแอ สอ.รฝ.
5. พ.จ.อ.จิราวัฒน์ เจริญศิลป์ นาวิกโยธิน
6. พลทหารทวีศักดิ์ แซ่เซียว นาวิกโยธิน

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้