Chonburi Sponsored

ฮือฮา! “พะยูน” ตัวเป็น ๆ โผล่ อวดโฉมชัดเจนที่สัตหีบ

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ฮือฮา! “พะยูน” ตัวเป็น ๆ โผล่ อวดโฉมชัดเจนที่สัตหีบ

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เผยภาพ “พะยูน” ว่ายน้ำโผล่พร้อมอวดโฉมที่อ่าวดงตาล สัตหีบ หลังเมื่อไม่นานมานี้เพิ่งพบพะยูนตายที่สัตหีบ ด้าน อ.ธรณ์ คาดมีพะยูนอยู่ 5 ตัวที่สัตหีบ คิดเป็น 20 % ของประชากรพะยูนในภาคตะวันออก

ถือเป็นภาพที่มีการแชร์กันไม่น้อยในโลกโซเชียล กับการพบพะยูนว่ายน้ำอวดโฉมกับเต่าทะเล พร้อมโผล่หัวขึ้นมาให้คนบันทึกภาพได้อย่างชัดเจนที่ “อ่าวดงตาล” อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โดยมีผู้ให้ข้อมูลว่า พะยูนตัวนี้ถูกพบและถ่ายภาพโดย นายภาณุกรณ์ พึ่งประดิษฐ์ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากนั้นได้มีผู้ส่งภาพและข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรฯ เพื่อหวังให้เป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์และความปลอดภัยของพะยูน


ด้าน ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ออกมาโพสต์ให้ข้อมูลจากการพบเจอพะยูนที่สัตหีบว่า

…พะยูนที่สัตหีบ !
เป็นไปได้ครับ เพราะอ่าวสัตหีบมีแหล่งหญ้าทะเลอยู่พอสมควร เมื่อไม่นานมานี้ก็มีการสำรวจพบแหล่งหญ้าทะเลน้ำลึกที่เกาะแสมสาร เป็นชนิดที่พะยูนโปรดปราน
จากการประเมินประชากรพะยูนในทะเลไทยของกรมทะเล คาดว่าที่สัตหีบมีอยู่ 5 ตัว ถือเป็น 20% ของพะยูนในภาคตะวันออก
พะยูนในไทยมี 260+ ตัว มากกว่า 70% อยู่ที่ตรัง กระบี่ และพังงา
แม้ที่สัตหีบจะมีพะยูนน้อย แต่ก็มี และเป็นกลุ่มประชากรที่สำคัญมาก และยังมีหวังที่จะเพิ่มจำนวนได้ในอนาคต
ขอบคุณไต๋ผู้รายงานข้อมูลสำคัญ เป็นหลักฐานของการพบที่ชัดเจนครับ…


อย่างไรก็ดีเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 6 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้มีรายงานการพบพบซากพะยูนเสียชีวิต เป็นพะยูนเพศเมีย มีขนาดใหญ่ ความยาวกว่า 2 เมตร ลอยมาเกยตื้นที่บริเวณกลางอ่าวสัตหีบ หน้าท่าเทียบเรือตำรวจน้ำสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

ทั้งนี้ชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ ได้ให้ข้อมูลว่า บริเวณหน้าอ่าวหน้าโรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มักพบฝูงพะยูนเข้ามาหากินอาหารประจำ เพราะบริเวณนั้นเป็นแหล่งอาหารของพะยูน มีหญ้าทะเลขึ้นจำนวนมาก


พะยูน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ (ไม่ใช่ปลาพะยูน) พะยูนเป็นหนึ่งในสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562

ปัจจุบันสถานการณ์ของพะยูนทั่วโลกมีจำนวนลดลงมากจนเกือบสูญพันธุ์ เนื่องจากการไล่ล่าและการทำลายแหล่งอาหารแหล่งอยู่อาศัยของพะยูน โดยแหล่งใหญ่ที่พะยูนอาศัยอยู่คือชายฝั่งออสเตรเลียที่สำรวจพบว่ามีจำนวนพะยูนอยู่หลายหมื่นตัวขณะที่ในบ้านเราปัจจุบันมีรายงานว่ามีพะยูนหลงเหลืออยู่ประมาณกว่า 260 ตัว พบเจอทั้งทางฝั่งอ่าวไทย และทางฝั่งอันดามัน โดยจะพบมากกว่า 70% อยู่ที่ตรัง กระบี่ และพังงา (ข้อมูลจาก ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์)

สำหรับการพบเจอพะยูนที่สัตหีบอย่างชัดเจนถือเป็นอีกหนึ่งข่าวดีของทะเลไทย ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันถึงการมีอยู่ของพะยูนที่แม้จะเหลืออยู่ไม่มาก กับแหล่งหญ้าทะเล เพื่อเป็นแนวทางให้เกิดการเดินหน้าในการอนุรักษ์พะยูนในประเทศไทยต่อไป

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้