Chonburi Sponsored

อบอุ่น ประชุมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลสัตหีบ – TOPNEWS

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

อบอุ่น ประชุมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลสัตหีบ

  • เผยแพร่ : 07/01/2023 18:58

อบอุ่น ประชุมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลสัตหีบ

วันที่ 7 มกราคม 2566 นายกิตติ อุดม ประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลสัตหีบ จัดประชุมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลสัตหีบ ประจำเดือน มกราคม 2566 ณ ที่ทำการ​กลุ่ม​ออมทรัพย์​เพื่อ​การผลิต​ตำบล​สัตหีบ หมู่​ที่​ 6 ตำบล​สัตหีบ​ ​อำเภอ​สัตหีบ​ จังหวัด​ชลบุรี​ เพื่อชี้แจงผลการดำเนินงานของกลุ่มฯ และการเก็บเงินสัจจะประจำเดือน โดยมีนางพิกุล โสภา ปลัดอำเภอสัตหีบ ผู้แทนนายอำเภอสัตหีบ นางพรปวีณ์ จรครบุรี นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ อดีตพัฒนาการ อ.สัตหีบ ผู้รวมก่อตั้งและสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฯ

นายรัชเดช เพชรเครือ นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ อ.สัตหีบ ที่มารับหน้าที่ใหม่ ที่ลงพื้นที่เยี่ยมเยือนและเข้า​ร่วมประชุมคณะกรรมการ​กลุ่ม​ออมทรัพย์​ เพื่อ​การผลิต​ตำบล​สัตหีบ​ เพื่อ​หารือแนวทางการขับเคลื่อน​กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลสัตหีบ ในวันนี้ด้วย
โดยกิจกรรมในวันนี้ ได้มอบสิ่งของช่วยเหลือสมาชิกกลุ่มฯ เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2566 ให้กับสมาชิก ได้แก่ ข้าวสาร จำนวน 150 ถุง ที่ได้รับการสนับสนุนจาก นายกิตติ อุดม ประธานกลุ่มออมทรัพย์ฯ น้ำดื่ม จำนวน 100 แพ็ค จากนายอัครพล แสงศรี (ผู้ใหญ่บอม) ผู้ใหญ่บ้าน ม.6 ต.สัตหีบ และปฏิทิน จากนายทวีศักดิ์ นิ่มอนงค์ (สจ.แดง) สมาชิกสภาจังหวัดชลบุรี เขตพื้นที่สัตหีบ เนื่องในโอกาสเทศกาลปีใหม่ 2566 ในโอกาสเดียวกันนี้ด้วย

สำหรับ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เป็นการรวมตัวของประชาชนด้วยความสมัครใจ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อออมเงินอย่างสม่ำเสมอ และใช้เงินในการลงทุนประกอบอาชีพ และใช้จ่ายทั้งของตนเองและบุคคลอื่น ๆ ภายในกลุ่ม บริหารและจัดการโดยสมาชิก ดำเนินการโดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โดยใช้ชื่อว่า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และมีการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตนี้ขึ้นทั่วประเทศ อีกด้วย

นิราช/นันทพล ทิพย์ศรี ชลบุรี

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้