Chonburi Sponsored

บุกจับ “กำนันแดง” ผู้กว้างขวาง อ.พนัสนิคม หนีฟังคำพิพากษาศาลฎีกา

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

อาชญากรรม

บุกจับ “กำนันแดง” ผู้กว้างขวาง อ.พนัสนิคม หนีฟังคำพิพากษาศาลฎีกา

วันจันทร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2564, 10.37 น.

ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าพนักงานตำรวจศาล court marshal ร่วมกับ กองบังคับการกองปราบปราม จำนวนหลายนาย นำหมายจับศาลจังหวัดชลบุรี ลงวันที่ 7 ธ.ค.61 รุดไปที่ บ้านเลขที่ 14 ม.2 ต.วัดโบถส์ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เข้าจับกุม นาย ชูชัย  แถมเปลี่ยน อายุ 57 ปี ฉายากำนันแดง อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดโบถส์ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เป็นผู้กว้างขางในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างทั่วประเทศไทย และรับถมดิน เป็นผู้อิทธิพลรายใหญ่ของ อ.พนัสนิคม ในข้อหา ร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์และปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต โดยเจ้าตัว ยอมรับว่า เป็นคนเดียวกับหมายจับศาล จ.ชลบุรี ออก ซึ่งพรรคพวกอีกคน ถูกจับกุมในคดีเดียวกันไปตั้งแต่ 7 ธันวาคม 2561  นำตัวมาฝากขังที่ สภ.เมืองชลบุรี 

ต่อมาเวลา 09.00 น.วันที่ 26 เม.ย.64 เจ้าพนักงานตำรวจศาล court marshal พร้อม เจ้าหน้าตำรวจกองปราบ มารับตัว ไปส่ง ศาล จ.ชลบุรี ตามหมายจับ เพื่อให้ รับโทษ ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ ให้ยืนในคำพิพากษา ศาลชั้นต้น คือ จำคุก 30 ปี 26 เดือน 10 วัน

ทั้งนี้ พฤติกรรม คือ กำนันแดง ได้เป็นนายก อบต.วัดโบถส์ แล้วประพฤติปฏิบัต ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ อบต.คนสนิท ฉ้อโกง ร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์และปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ถูกดำเนินคดี ที่ สภ.พนัสนิคม ตั้งแต่ปี 57 พอปี 58 ศาลชั้นต้น ให้จำคุกดังกล่าว ต่อมา กำนันแดง ก็อุทธรณ์ ปรากฏว่า ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง ต่อมาอัยการศาลอุทธรณ์ ส่งฟ้องศาลฎีกา กำนันแดง จึงประกันตัว แล้ว วันที่ 7 ธ.ค.61 ไม่มาฟังคำพิพากษาศาลฎีกา แล้วหนีหายตัวไป ศาลฏีกา จึงอ่านคำพิพากษาลับหลัง ให้ยืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น คือ จำคุก 30 ปี 26 เดือน 10 วัน

ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม