Chonburi Sponsored

รอบด้านวงการพระ“บุญในทางพุทธศาสนา คือ การละบาป เมื่อละบาปแล้วมันก็ไม่มี

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

“บุญในทางพุทธศาสนา คือ การละบาป เมื่อละบาปแล้วมันก็ไม่มีบาป ไม่มีบาปมันก็ไม่ร้อน ไม่ร้อนมันก็เย็น” สารธรรมมงคล หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี

“พระพนัสบดี” เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาวพนัสนิคม ประดิษฐาน ณ หอพระพนัสบดี ตั้งอยู่กลางสระน้ำ ตรงข้ามสำนักงานเทศบาลเมืองพนัสนิคม จ.ชลบุรี โดยอำเภอพนัสนิคม จัดสร้างรุ่นแรกเมื่อปีพ.ศ.2517 ที่ระลึกในการจัดสร้างหอพระพนัสบดี ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ที่วัดหน้าพระธาตุ อ.พนัสนิคม เมื่อวันเสาร์ที่ 11 พ.ค.2517

เหรียญพระพนัสบดี เป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง จำนวนการสร้าง 15,000 เหรียญ จัดสร้างทั้งหมด 3 เนื้อคือ เนื้อทองแดง มีทั้งผิวไฟกะไหล่ทอง และกะไหล่นาก

ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปองค์พระพนัสบดีทรงยืน ด้านล่างเขียนคำว่า “พระพนัสบดี” ด้านหลังเหรียญ ด้านบนเป็นอักขระขอมคำว่า “อุ” ใต้ล่างเขียนว่า “ที่ระลึกงานพุทธาภิเษกพระพนัสบดี อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ๑๑ พ.ค.๑๗” ด้านล่างตัวอักษรเป็นลายกนก ปัจจุบันเหรียญรุ่นนี้แทบหาพบได้ยากมาก

“หลวงพ่อจิ๋ว สุขาจาโร” อดีตเจ้าอาวาสวัดเนินเหล็ก อ.เมือง จ.อุทัยธานี ในปีพ.ศ.2536 ก่อนมรณภาพ จัดสร้างวัตถุมงคลพระเนื้อผง รุ่นยกช่อฟ้าอุโบสถวัดเนินเหล็ก ลักษณะองค์พระเป็นรูปสามเหลี่ยม ทรงมน เนื้อผงพุทธคุณ ด้านหน้าพระผงมีขอบรอบ ตรงกลางเป็นรูปนูนนั่งสมาธิเต็มองค์บนแท่นสองชั้น ด้านหลัง พระผงไม่มีขอบ มียันต์นูนพระเจ้าห้าพระองค์ และมีอักขระขอมกำกับด้วยอุณาโลมซ้าย-ขวา ใต้ยันต์มีอักษรไทย “ครบ ๘๙ ปี หลวงพ่อจิ๋ว เนินเหล็ก” ประกอบพิธีพุทธาภิเษกวันเสาร์ที่ 17 เม.ย.2536 ที่อุโบสถวัดเนินเหล็ก โดยมีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกปลุกเสก

“พระวิบูลเมธาจารย์” (หลวงพ่อเก็บ) เจ้าอาวาสวัดดอนเจดีย์ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี สร้างวัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือน ในปีพ.ศ.2516 ที่ระลึก เมื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ ทรงเป็นประธานตัดลูกหวายนิมิตวัดดอนเจดีย์

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อเก็บ จัดสร้างด้วยการนำเหรียญ 5 บาทที่ใช้จริงสมัยนั้นมาปั๊มหลายครั้งจนบาง สังเกตด้านข้างจะเป็นสีทองและนากของเหรียญ 5 บาท ลักษณะเหมือนกับรุ่นปกติ แต่บางกว่า และมีการเชื่อมต่อห่วงด้านบนอย่างชัดเจน

ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนพระวิบูลเมธาจารย์ (หลวงพ่อเก็บ) มีข้อความว่า “พระวิบูลเมธาจารย์ วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี” มีจุดสังเกตดีๆ จะมีการปั๊มคำว่า “เก็บ” ไว้ที่ไหล่รูปเหมือนด้านซ้ายล่างของหลวงพ่อเก็บ แต่เป็นด้านขวาของเหรียญทุกเหรียญ ด้านหลังเหรียญเป็นรูปพระนเรศวรทรงช้างและองค์อนุสรณ์ดอนเจดีย์ ด้านบนเหรียญเป็นภาษาขอมเขียนว่า “นะ” เป็นอีกเหรียญที่มีคุณค่า

อริยะ เผดียงธรรม
chatchyros@hotmail.com

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม