Chonburi Sponsored

กองทัพเรือ ร่วมกับหน่วยงานสนองพระดำริ จัดกิจกรรม รักษ์ทะเลไทย ตามแนวพระดำริ – TOPNEWS

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

กองทัพเรือ ร่วมกับหน่วยงานสนองพระดำริ จัดกิจกรรม รักษ์ทะเลไทย ตามแนวพระดำริ

  • เผยแพร่ : 06/01/2023 19:06

กองทัพเรือ ร่วมกับหน่วยงานสนองพระดำริ จัดกิจกรรม รักษ์ทะเลไทย ตามแนวพระดำริ

วันที่ 6 ม.ค.66 เวลา 09.00 น. พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการอนุรักษ์แนว
ปะการัง และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ในพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เป็นประธานในพิธีการจัดกิจกรรม “รักษ์ทะเลไทย ตามแนวพระดำริ” ภายใต้โครงการอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ 36 พรรษา

8 มกราคม 2566 ณ หาดเตยงาม หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ค่ายกรมหลวงชุมพร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยผู้บัญชาการทหารเรือ ประธานในพิธี กล่าวถวายพระพรชัยมงคลและเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา มอบรางวัลให้แก่เยาวชนในการประกวดวาดภาพ จำนวน 20 รางวัล มอบอุปกรณ์เก็บขยะชายหาด และอุปกรณ์เก็บขยะใต้ทะเลให้แก่เยาวชน และนักดำน้ำ จากนั้น ผู้บัญชาการทหารเรือ นายกสมาคมภริยาทหารเรือ นายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพเรือ และผู้แทนหน่วยงานร่วมสนองพระดำริ ร่วมเสียบกิ่งปะการัง เพื่อนำปลูกในทะเลอ่าวนาวิกโยธิน เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการของหน่วยงานสนองพระดำริ และนำคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพเรือ และผู้แทนหน่วยงาน ร่วมสนองพระดำริปล่อยเต่าทะเล จำนวน 37 ตัว

การจัดกิจกรรมครั้งนี้ เป็นการสนองพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี รวมทั้งเป็นการส่งเสริมงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลของกองทัพเรือ ในฐานะ หน่วยงานหลัก ในการดำเนินงานโครงการฯ อันจะเป็นประโยชน์ ในการประสานขอความร่วมมือในการดำเนินงาน ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลของกองทัพเรือ ต่อไป

นิราช/นันทพล ทิพย์ศรี  ชลบุรี

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้