Chonburi Sponsored

ทร.เตรียมมอบเงินช่วยเหลือ 1 แสนบาท ให้ 23 ครอบครัวกำลังพล ร.ล.สุโขทัย

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

เข้าสู่วันที่ 15 ของการค้นหาผู้สูญหาย เหตุเรือหลวงสุโขทัยอับปาง ยังเหลือกำลังพลที่อยู่ระหว่างค้นหาอีก 5 นาย กองทัพเรือปรับเพิ่มจุดค้นหาตามเกาะต่างๆ และพรุ่งนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือ เตรียมมอบเงินช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิต 23 ครอบครัว

วันนี้ (2 ม.ค.2565) กองทัพเรือ ยังคงดำเนินการค้นหากำลังพล ที่สูญหายอีก 5 นาย จากเหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยอับปาง โดยเรือและอากาศยานยังคงมีการลาดตระเวนในพื้นที่ค้นหาในพื้นที่ต่าง ๆ ตามแผน

ให้กำลังใจครอบครัวพลทหารที่พลัดพรากแม่ 15 ปี

พล.ร.ท.พิชัย ล้อชูสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 เยี่ยมให้กำลังใจ มอบเงินและสิ่งของ แก่นางฉ่ำ พรหมบังเกิด อายุ 78 ปี ยายของพลทหารชลัช อ้อยทอง พลแตรประจำเรือหลวงสุโขทัย อายุ 22 ปี ที่เสียชีวิต ที่บ้านพักประจวบโชค อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์

ก่อนหน้านี้ เรื่องราวของพลทหารชลัช อยู่ในความสนใจของผู้คน เพราะหลังพบร่าง กองทัพเรือได้ติดต่อญาติ มาตรวจดีเอ็นเอ แต่แฟนแจ้งว่า พลทหารอาศัยอยู่กับยาย ซึ่งอาจจะไม่สามารถเปรียบเทียบดีเอ็นเอได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนพ่อเสียชีวิตแล้ว จึงต้องตามตัวแม่ มายืนยันตัวตน แต่แม่และพลทหารชลัช ไม่ได้ติดต่อกันนาน 15 ปี  เนื่องจากแม่มีอาการผิดปกติทางสมอง ไปอยู่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ใน จ.สุราษฎร์ธานี ตั้งแต่พลทหารชลัช อายุ 7 ขวบ

พลทหารชลัช เรียนถึงชั้น ป.2 ลาออกมาทำงานรับจ้าง ดูแลยาย และพยายามตามหาแม่ ตั้งแต่วัยรุ่น แต่ยังไม่พบ ต่อมาจับสลากได้เป็นทหารเกณฑ์ ผลัด 3 ถูกส่งตัวไปฝึก ที่กองทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี เมื่อเดือน เม.ย.2565 จนมาประสบเหตุ และเจ้าหน้าที่พบแม่ของพลทหารชลัช อยู่ที่สถานดูแลคนไร้ที่พึ่ง จึงเชิญมาตรวจดีเอ็นเอ 

ที่บ้านท่าไม้ลาย จังหวัดชุมพร ที่พลทหารชลัช อาศัยอยู่กับยาย และญาติอีก 2 คน เป็นบ้านปูนชั้นเดียว ก่อด้วยอิฐบล็อก ญาติเล่าว่า ยายใช้โทรศัพท์มือถือไม่เป็น โทรทัศน์ที่บ้าน ก็ชำรุดมานานกว่า 10 ปี มีวิทยุทรานซิสเตอร์ ฟังเพลงและข่าวสาร จนได้รับแจ้งข่าวการเสียชีวิตของหลานชาย

ยังไม่พบกำลังพล 5 นาย ที่สูญหาย

กองทัพเรือ ส่งเรือยาง 4 ลำ ค้นหากำลังพลที่ยังสูญหายอีก 5 นาย ตามเกาะต่าง ๆ ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร คู่ขนานกับภารกิจทางเฮลิคอปเตอร์ และเดินลาดตระเวนตามแนวชายหาด แต่ยังไม่พบเพิ่มเติม

ส่วนร่างผู้เสียชีวิต ที่อยู่ระหว่างยืนยันตัวตน พล.ร.ท.พิชัย ล้อชูสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 เปิดเผยว่า ยังไม่ได้ข้อสรุปผลตรวจดีเอ็นเอว่า ตรงกับกำลังพลคนใด

แฟ้มภาพ

แฟ้มภาพ

ด้านการสอบสวนสาเหตุเรือหลวงสุโขทัยอับปาง กรรมการสอบสวน ชุดที่ผู้บัญชาการทหารเรือ สั่งตั้งขึ้นมา ได้ส่งรายงานสรุปเหตุการณ์ ต่อปลัดกระทรวงกลาโหม และ รมว.กลาโหม แล้ว และจะนำไปประกอบกับผลสอบสวนข้อเท็จจริง ที่ผู้บัญชาการทหารเรือ สั่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีก 2 ชุด

อีกด้านหนึ่ง นักประดาน้ำสำรวจรอบตัวเรือ เพื่อประเมินแผนกู้เรือ แต่ยังมีอุปสรรค คือ คลื่นแรง ขั้นต่อไปต้องประเมินว่า เสียหายทั้งลำ หรือเฉพาะห้องเครื่องและอะไรเป็นสาเหตุทำให้เรือรั่วและอับปาง

ขณะที่ญาติของจ่าตรีโสภณ วงศ์สนิท ครอบครัวสุดท้าย ที่มาเฝ้ารอการค้นหากำลังพลที่สูญหาย เดินทางกลับไปรอฟังข่าว ที่ จ.กาญจนบุรี แล้ว โดยจะยังไม่ปิดศูนย์ประสานงานและช่วยเหลือฯ อ.บางสะพาน แต่จะลดกำลังบางส่วน เพราะมีภารกิจอื่นด้วย

ส่วนพรุ่งนี้ (3 ม.ค.) พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ จะเป็นประธานในพิธีมอบเงินช่วยเหลือให้กับครอบครัวกำลังพลที่เสียชีวิต 23 ครอบครัว ครอบครัวละ 100,000 บาท ที่อาคารราชนาวิกาสภา

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้