Chonburi Sponsored

ร่างกำลังพล 1 นาย ทราบผล DNA แล้ว อยู่ระหว่างรอเอกสารยืนยันอย่างเป็นทางการ ว่าเป็นใครใน 1 จาก 6 รายชื่อ ผู้สูญหาย

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ยังไม่พบ 5 กำลังพลเรือหลวงสุโขทัยที่สูญหาย ขณะที่ ร่างผู้เสียชีวิต 1 นาย ทราบผล DNA แล้ว อยู่ระหว่างรอเอกสารยืนยันอย่างเป็นทางการว่า ร่างของผู้เสียชีวิตดังกล่าว เป็นใครใน 1 จาก 6 รายชื่อ ผู้สูญหาย

ความคืบหน้า 5 มกราคม 2566 จากกรณีกำลังพลเรือหลวงสุโขทัยอับปาง ที่ขณะนี้ยังมีผู้สูญหาย 5 นาย และมีร่างผู้เสียชีวิตที่รอการยืนยันเอกลักษณ์บุคคลอีก 1นาย  โดยในวันนี้ ที่มูลนิธิสว่างราษฎร์ศรัทธาธรรมสถาน อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ คณะกรรมการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้หารือถึงความคืบหน้าในการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล เบื้องต้น ผลนิติเวช ทราบผลพิสูจน์ DNA ร่างดังกล่าวแล้ว โดยขณะนี้ยังรอเอกสารยืนยันอย่างเป็นทางการว่า ร่างของผู้เสียชีวิตดังกล่าวเป็นใครใน 1 จาก 6 รายชื่อ ผู้สูญหายที่เหลืออยู่ตอนนี้

โดยตามขั้นตอน เมื่อมีการรายงานผลอย่างเป็นทางการมาที่กองทัพเรือแล้ว ทางกองทัพเรือจะแจ้งให้ทางญาติทางตามขั้นตอน พร้อมผลการตรวจพิสูจน์แบบเป็นลายลักษณ์อักษร จากนั้นกองทัพเรือ จะประสานญาติ เพื่อขอรับร่างจากมูลนิธิฯ ไปประกอบพิธีที่ฌาปณสถาน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ต่อไป โดยขณะนี้ร่างดังกล่าวยังคงถูกเก็บรักษาไว้ในห้องเย็นที่มูลนิธิฯ เพื่อรักษาสภาพไว้อย่างดี

สำหรับรายชื่อกำลังพลที่ยังสูญหาย และรอยืนยันเอกลักษณ์บุคคล รวม 6 นาย ประกอบด้วย

กำลังพลเรือหลวงสุโขทัย
– นาวาตรีพลรัตน์ สิโรดมภ์ หรือ ต้นเรือพลับ
– จ.ต.โสภณ วงษ์สนิท – ช่างกล
– พลทหารชัยชนะ ช่างวาด – สหโภชน์

กำลังพล สอ.รฝ.
– พลทหารอับดุลอาซีด มะแอ

กำลังพลนาวิกโยธิน
– พ.จ.อ.จิราวัฒน์ เจริญศิลป์
– พลทหารทวีศักดิ์ แซ่เซียว

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้