Chonburi Sponsored

กลับสู่บ้านเกิด! แม่ “หมอแชมป์” ภูมิใจลูกทำหน้าที่จนวินาทีสุดท้าย

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

นาวาตรีเสวก พ่วงบัลลังก์ นายทหารยุทธการเวชกิจ  โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ พร้อมด้วยกองเกียรติยศ ลำเลียงศพ พันจ่าเอกคุณากร จริยศ หรือ หมอแชมป์ ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์เรือสุโขทัยอับปาง  ขณะลงไปช่วยเหลือเพื่อนทหารในทะเล จาก ฌาปนกิจสถานกองทัพเรือ สัตหีบ จังหวัดชลบุรี มายัง วัดศรีวโนภาสสถิตย์พร อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 

โดยมี นาวาตรี อาวุธ และนางเอื้อมพร  พ่อและแม่ของ หมอแชมป์ และ ญาติ รวมทั้ง เจ้าหน้าที่กู้ภัยสว่างพรกุศลระยอง ยังได้เดินทางมาร่วมพิธีเนื่องจากเป็นลูกศิษย์ ที่ได้รับการอบรมวิชาการช่วยชีวิตจากหมอแชมป์เดินทางไปร่วมรับศพ 

โดยเมื่อขบวนลำเลียงศพได้มาถึงวัด โดยทหารรอต้อนรับอย่างสมเกียรติ นางเอื้อมพร แม่ของหมอแชมป์ เป็นผู้ถือรูปถ่ายของ หมอแชมป์ มาวางไว้ด้านหน้าศพ  ท่ามกลางความโศกเศร้า 

ด้านนาวาตรี เสวก ผู้บังคับบัญชาของ หมอแชมป์  บอกว่า รู้สึกเสียใจและเสียดาย เพราะหมอแชมป์ เป็นบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถในหลายด้าน ด้วยความที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น จึงเป็นที่รักและเคารพของเพื่อนและผู้ใต้บังคับบัญชา   

ด้านพระครูบวรสาธุกิจ หรือ อาจารย์จิ้ม เจ้าอาวาสวัดศรีวโนภาส  บอกตรงกันว่า หมอแชมป์นับเป็นบุคคลที่น่ายกย่อง ที่รู้ว่ามีภัยอันตรายอยู่เบื้องหน้า แต่ยังตัดสินลงไปช่วยเพื่อนทหาร  

สำหรับพิธีศพ กำหนดสวดพระอภิธรรม เป็นเวลา 3 คืน ตั้งแต่วันที่ 1-3 มกราคม และพิธี พระราชทานเพลิง เวลา 16.00 น.วันที่ 4 มกราคม 

ขณะที่วันนี้ เรือรบหลวงปัตตานี  ยังนำอัฐิ 4 วีรชนเรือหลวงสุโขทัย ลอยอังคารอ่าวสัตหีบ โดยมีผู้แทนผู้บัญชาการทหารเรือ แสดงความเสียใจต่อครอบครัว สดุดีความกล้าหาญ และความเสียสละอันใหญ่หลวง  ณ ดาดฟ้า เรือหลวงปัตตานี หมายเลข 511 ท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ  จังหวัด ชลบุรี

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้