Chonburi Sponsored

เตรียมเคลื่อนร่าง “หมอแชมป์” กลับระยอง ตั้งสวดวัดศรีมโนภาสสถิตย์

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

เตรียมเคลื่อนร่าง “หมอแชมป์” กลับระยอง ตั้งสวดวัดศรีมโนภาสสถิตย์

ครอบครัวเตรียมเคลื่อนร่าง “หมอแชมป์” จากสัตหีบ กลับถึงบ้านเกิดพรุ่งนี้ (1 ม.ค. 66) ตั้งสวดพระอภิธรรมวัดศรีมโนภาสสถิตย์ และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ วันที่ 4 ม.ค. 66

31 ธันวาคม 2565 เมื่อเวลา 10.00 น. ผู้สื่อข่าวเดินทางไปที่ วัดศรีมโนภาสสถิตย์ ต.แกลง อ.เมือง จ.ระยอง ซึ่งจะใช้เป็นสถานที่ตั้งสวดพระอภิธรรมศพ “หมอแชมป์” หรือ พันจ่าเอก คุณากร จริยศ อายุ 35 ปี ฮีโร่เรือหลวงสุโขทัย พบว่า วัดดังกล่าวมีสถานที่กว้างขวาง มีที่จอดรถได้หลายร้อยคัน สามารถรองรับประชาชนที่จะเดินทางมาร่วมไว้อาลัยได้เป็นจำนวนมาก

พระครูบวรสาธุกิจ เจ้าอาวาสวัดศรีมโนภาสสถิตย์ ในฐานะเจ้าคณะตำบลแกลง เปิดเผยว่า ณ ตอนนี้สถานที่พร้อมไปกว่า 35 % ยังขาดการประดับตกแต่งไฟเท่านั้น ซึ่งภายในเย็นนี้ ทุกอย่างจะสมบูรณ์ 100 % พร้อมรับการจัดงาน ฌาปนกิจ ไว้อาลัยให้กับ “หมอแชมป์” อย่างแน่นอน

นางเอื้อมพร จริยศ อายุ 69 ปี คุณแม่ของ “หมอแชมป์” กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องย้ายสถานที่จัดงานจากที่บ้าน มาเป็นที่วัดศรีมโนภาสสถิตย์ เนื่องจากมีหลายฝ่าย เข้ามาพูดคุยและสรุปกันว่าที่บ้านนั้น มันคับแคบไม่สามารถรองรับการจัดงาน พระราชพิธีได้ จึงจำเป็นต้องย้ายสถานที่จัดงาน

โดยบ่ายวันนี้ ตนเองและญาติ ๆ จะเดินทางไปที่ อ. สัตหีบ จ.ชลบุรี เพื่อไปพักค้างที่นั้น 1 คืนและวันพรุ่งนี้ จะเคลื่อนร่าง “หมอแชมป์” มายังจังหวัดระยอง เพื่อจัดงานไว้อาลัยให้กับหมอแชมป์ต่อไป

สำหรับกำหนดการ ทางกองทัพเรือได้จัดพิธีไว้อาลัยให้กับกำลังพลอยู่ที่ ฌาปนสถานกองทัพเรือ สัตหีบ จ.ชลบุรี  ซึ่งได้จัดพิธี พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ วางพวงมาลาพระราชทานหน้าหีบศพ สวดพระอภิธรรม หลังจากเสร็จพิธีจากทางกองทัพเรือ ก็จะเคลื่อนร่าง “หมอแชมป์” ไปยัง วัดศรีมโนภาสสถิตย์ ต.แกลง อ.เมือง จ.ระยอง เพื่อให้ญาติได้จัดงานไว้อาลัยให้กับ “หมอแชมป์” อย่างสมเกียรติต่อไป โดยร่างของ “หมอแชมป์” จะเดินทางมาถึงวัดศรีมโนภาสสถิตย์ ในวันที่ 1 มกราคม 2566 โดยจะตั้งสวด 3 คืน ระหว่างวันที่ 1-3 มกราคม 2566 และจะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 4 มกราคม 2566 เวลา 16.00 น.

ข่าว : ธานนท์ ตรีพลอักษร จ.ระยอง

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้