Chonburi Sponsored

ส่งดวงวิญญาณ 6 กำลังพล จากเหตุเรือหลวงสุโขทัยอับปาง

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ ในการพระราชทานเพลิงศพ 6 นายทหารจากเหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยอับปาง ขณะลาดตะเวน ณ ฌาปนสถานกองทัพเรือสัตหีบ

31 ธ.ค. 65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ ในการพระราชทานเพลิงศพ นายทหารจากเหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยอับปาง ขณะลาดตะเวน ณ ฌาปนสถานกองทัพเรือสัตหีบ (พื้นที่สัตหีบ) อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ได้แก่ จ่าเอกชูชัย เชิดชิด สังกัด ร.ล.สุโขทัย , จ่าโท ธวัชชัย สาพิราช สังกัด นย. , จ่าตรี สิริธิติ งามทอง สังกัด ร.ล.สุโขทัย ,จ่าตรี นพณัฐ คำวงศ์ สังกัด ร.ล.สุโขทัย พลทหาร ปรีชา รักษาภักดี สังกัด ร.ล.สุโขทัย และ พลฯ ชลัช อ้อยทอง สังกัด ร.ล.สุโขทัย

เวลา 15.00 น. พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธี พระราชทานเพลิงศพ กำลังพลทั้ง 6 นาย ณ ฌาปนสถานกองทัพเรือสัตหีบ (พื้นที่สัตหีบ) อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมีกำลังพลทหารเรือ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครอบครัวญาติพี่น้องผู้เสียชีวิต ตลอดจน ประชาชน ร่วมในพิธีไว้อาลัยเป็นจำนวนมาก โดยกองทัพเรือได้พิธีอย่างสมเกียรติชายชาติทหาร ด้วยการจัดกองทหารเกียรติยศ พลแตรเป่าสัญญาณแตรนอน ร่วมส่งดวงวิญญาณซึ่งเป็นสัญญาน แสดงว่าวันอันเหน็ดเหนื่อยได้ผ่านพ้นไปแล้ว และจะได้พักเสียที

วันพรุ่งนี้ ( 1 ม.ค.66 ) จะได้มีการอัฐิของนายทหาร ทั้งหมด มาประกอบพิธีลอยอังคาร ณ อ่าวสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ซึ่งญาติมีความเชื่อว่าเมื่อนำอัฐิลอยอังคาร จะทำให้ภพหน้าเกิดมาสุขสบายและร่มเย็น

โดยกองทัพเรือถือว่ากําลังพลที่เสียชีวิตจากเรือหลวงสุโขทัย เป็นผู้ที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ ได้พิจารณาบำเหน็จด้านสิทธิกำลังพลสูงสุดให้แก่กำลังพลโดยจะพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือน 3-5 ชั้น กับขอพระราชทานเลื่อนยศ 2-4 ชั้นยศ รวมทั้งเงินช่วยเหลืออื่นๆ ตามสิทธิที่สมควรจะได้รับ ดังนี้ ชั้นยศ จ่าตรี – จ่าเอก จะขอเลื่อนยศและขอพระราชทานเลื่อนยศเป็น พันจ่าโท – เรือตรี กับได้รับสิทธิกําลังพล ประกอบด้วย เงินประกันภัยหมู่แบบเฉพาะกิจกองทัพเรือ 500,000 บาท เงินจากกองทุนน้ำใจไทยเพื่อผู้เสียสละกองทัพเรือ 135,000 บาท และเงินช่วยเหลืออื่น ๆ รวมเป็นเงินประมาณ 900,000 บาท และทหารกองประจําการ จะขอเลื่อนยศเป็น พันจ่าตรี กับได้รับสิทธิกําลังพล ประกอบด้วย เงินประกันภัยหมู่แบบเฉพาะกิจกองทัพเรือ 500,000 บาท เงินจากกองทุนน้ำใจไทยเพื่อผู้เสียสละกองทัพเรือ 100,000 บาท และเงินช่วยเหลืออื่น ๆ รวมเป็นเงินประมาณ 600,000 บาท โดยกองทัพเรือ จะเร่งรัดการดําเนินการ ให้กําลังพลและครอบครัวได้รับสิทธิกําลังพลเป็นไปด้วยความรวดเร็ว เพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรเทาความเดือนร้อนในเบื้องต้นให้แก่กําลังพลและครอบครัวต่อไป

ติดตาม ช่อง 8 ได้ทาง
facebook.com/thaich8

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้