Chonburi Sponsored

เคลื่อนร่าง “หมอแชมป์” พร้อมกำลังพล 2 นาย กลับสัตหีบ

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

กองทัพเรือนำร่างหมอแชมป์และร่างกำลังพล 2 นาย ที่เสียชีวิตจากเหตุ ร.ล.สุโขทัยอับปาง มาประกอบพิธีที่ฌาปนสถานกองทัพเรือสัตหีบ โดยมีเจ้าหน้าที่กู้ภัยกว่า 50 คนในพื้นที่ จ.ระยอง และ จ.ชลบุรี ร่วมรับร่างในฐานะลูกศิษย์

วันนี้ (30 ธ.ค.2565) เวลา 14.30 น. เครื่องบินของกองทัพเรือ นำร่างกำลังพลที่เสียชีวิตจากเหตุเรือหลวงสุโขทัยอับปาง 3 นาย เดินทางจาก อ.บางสะพาน กองบิน 5 จ.ประจวบคีรีขันธ์ มาลงที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เพื่อนำร่างประกอบพิธีที่ฌาปนสถานกองทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

ร่างกำลังพล 3 นาย ได้แก่ พ.จ.อ.คุณากร จริยศ (หมอแชมป์) สังกัด ร.ล.สุโขทัย, พลทหารชลัช อ้อยทอง สังกัด ร.ล.สุโขทัย และ จ.อ.ไพร รวมญาติ สังกัด สอ.รฝ.

ทั้งนี้ มีทหารกองเกียรติยศตั้งขบวนรับ พร้อมญาติ เพื่อนร่วมรุ่น และรุ่นพี่ รุ่นน้อง ของกำลังพลทั้ง 3 ครอบครัวมาร่วมรับร่างด้วย

นอกจากนี้ ทีมกู้ภัยจากหลายมูลนิธิใน จ.ระยอง และ จ.ชลบุรี กว่า 50 คน เดินทางมาร่วมรับร่าง “หมอแชมป์” ที่ท่าอากาศยานนานาชาติ อู่ตะเภา และร่วมพิธีที่ฌาปนสถานด้วย โดยมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เวลา 17.30 น.

นายเกรียงไกร บุญมาฉาย ทีมกู้ภัยมูลนิธิสว่างบริบูรณ์ ระบุว่าเป็นตัวแทนมูลนิธิต่าง ๆ มาร่วมรับร่างหมอแชมป์ เพราะหมอแชมป์เป็นครูฝึกด้านการกู้ชีพจากโรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ และสอนเจ้าหน้าที่มูลนิธิกู้ภัยทั้งในพื้นที่ จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง

หมอแชมป์ เป็นผู้ปลูกฝังการเป็นอาสาสมัครและการกู้ชีพกู้ภัย สอนให้อาสาสมัครช่วยเหลือสังคม ถ่ายทอดหลักการกู้ชีพทางน้ำและการกู้ชีพทางถนน ทุกคนจึงมีความผูกพันอย่างมาก

หมอแชมป์รอดชีวิตแล้ว แต่กลับไปช่วยคนอื่นด้วย สะท้อนถึงความเป็นชายชาติทหาร เป็นเพื่อนนักสู้ที่แท้จริง ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าอาจจะเกิดอันตรายกับตัวเอง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

“บิ๊กโจ๊ก” เผยผลทันตกรรมตรงกับ “ต้นเรือพลับ” เร่งตรวจ DNA

ทร.ยืนยันพิสูจน์อัตลักษณ์ทราบชื่อเพิ่ม 1 นาย “จ.อ.ไพร”

ใครเป็นใครบนเรือหลวงลำใหญ่

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้