Chonburi Sponsored

ปะการังเกาะแสมสาร ติด “โรคแถบเหลือง” กว่า 1 พันไร่ เสี่ยงตายไร้ทางรักษา

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

นักวิชาการทางทะเลพบโรคชนิดหนึ่ง “โรคปะการังแถบเหลือง หรือ Yellow Band” เป็นโรคที่เป็นภัยคุกคามปะการังทั่วโลกเพราะทำให้ปะการังตาย ไม่มีทางป้องกันและรักษาได้ ล่าสุดได้ลุกลามในทะเลแถบหมู่เกาะแสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เสียหายกว่า 1,000 ไร่

เช็ก!เส้นทางเลี่ยงรถติด ช่วงเทศกาลปีใหม่ 66

กรุงเทพ ติดโผ 10 เมืองน่าเคาท์ดาวน์ 2023

คนทั่วไปหรือนักท่องเที่ยวที่ไปดำน้ำดูปะการังอาจเข้าใจว่า สีเหลืองที่ปะการังเป็นสีสันที่สวยงาม แต่ในความเป็นจริงคืออาการของโรคปะการังแถบเหลือง โดย นางสาวลลิตา ปัจฉิมนักวิชาการประมงชำนาญการ ระบุว่า เป็นภัยคุกคามปะการังอย่างร้ายแรง เพราะปะการังติดเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีทางรักษาป้องกันและพวกมันจะตายลงไปในที่สุด

โดยพบปะการังเป็นโรคแถบเหลืองในหมู่เกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ กินเนื้อที่กว่า 1,000 ไร่ และพบลุกลามขึ้นอีก 20-30 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้จากการนำตัวอย่างปะการังที่ติดเชื้อไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการนักวิชาการพบว่า โรคแถบเหลืองเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มากับน้ำ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียลักษณะนี้มักอยู่มนน้ำที่มรสารอินทรีย์สูงหรือคุณภาพน้ำไม่ดี แต่การวิเคราะห์ตัวอย่างก็ยังยืนยันสาเหตุของโรคแถบเหลืองในปะการังที่แน่ชัดไม่ได้

ผศ.มลฤดี สนธิ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีทางทะเล ม.บูรพา จันทบุรี กล่าวว่า “คือในส่วนต่อไปเราจะเอาเชื้อตัวนี้มาแช่ปะการังสุขภาพดีในห้องปฏิบัติการถ้ายืนยันไปแล้วว่าเป็นสาเหตุของการเกิดโรคปรากฎว่าถ้ามาทำในห้องปฏิบัติการมันไม่เป็นไม่เกิดโรคแถบเหลืองขึ้นมานั้นแสดงว่าไม่ใช่สาเหตุของการเกิดโรค แต่เรายังไม่ได้ทำในส่วนนี้ ซึ่งเราต้องศึกษาก่อน 

อาจารย์ ม.บูรพา กล่าวต่อว่า โรคปะการังแถบเหลืองเป็นภัยคุกคามปะการังทั่วโลก รองจากปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว โดยปะการังฟอกขาวสร้างความเสียหายให้ปะการังเป็นวงกว้างได้ก็จริงแต่ปะการังยังมีโอกาสรอดหากน้ำทะเลกลับมาอุณภูมิปกติภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่สำหรับโรคแถบเหลืองหากปะการังติดเชื้อก็ไม่มีโอกาสรอด ขณะนี้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งกำลังเร่งสำรวจแนวปะการังทั่วประเทศเพื่อหาทางป้องกันต่อไป

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้