Chonburi Sponsored

ทร. นำร่าง 10 กำลังพลถึง ฌาปนสถานกองทัพเรือ สัตหีบ รอผลพิสูจน์อีก 4 สูญหาย 5

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

28 ธันวาคม 2565, 18:24น.

         เมื่อเวลา 17.00 น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และพวงมาลาพระราชทาน วางหน้าหีบศพกำลังพลที่เสียชีวิตทั้ง 10 นาย โดยก่อนหน้านี้ พลเรือเอก สุวิน แจ้งยอดสุข ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ พร้อมกำลังพลกองทัพเรือ จากหน่วยต่างๆ ได้เดินทางไปร่วมรับร่างกำลังพลกองทัพเรือ 10 นาย ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยอับปาง ที่ได้เคลื่อนร่าง โดยเครื่องบินลำเลียงแบบ C – 130 ของกองทัพอากาศ จาก กองบิน 5 อำเภอเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปยังสนามบินอู่ตะเภา ประกอบด้วย 1.จ่าเอก บุญเลิศ ทองทิพย์ 2.จ่าเอกชูชัย เชิดชิด 3.จ่าโท ธวัชชัย สาพิราช 4.จ่าโท สหรัฐ อีสา 5.จ่าตรี สถาพร สมเหนือ 6.จ่าตรี นพณัฐ คำวงค์ 7.จ่าตรี ศุภกิจ ทิวาลัย 8.จ่าตรี สิริธิติ งามทอง 9.พลทหาร ปรีชา รักษาภักดี 10. พลทหาร จำลอง แสนแก โดยมีครอบครัวและญาติของผู้เสียชีวิตร่วมในพิธี

          จากนั้นได้มีการเคลื่อนศพไปยังฌาปนสถานกองทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมีทหารกองเกียรติยศรับรถขบวนเคลื่อนย้ายร่าง ตลอดเส้นทางผ่านอย่างสมเกียรติ ซึ่งผู้เสียชีวิตทั้ง 10 นาย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ศพอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ โดยตั้งบำเพ็ญกุศล ฯ กิจการฌาปนสถานกองทัพเรือ สัตหีบ

          พลเรือโทพิชัย ล้อชูสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 (ผบ.ทรภ.1)  สรุปการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (วันที่ 28 ธันวาคม 2565) เวลา 18.30 น. ในวันนี้ พบร่างกำลังพลบริเวณชายหาด 1 นาย และอีก 2 นาย ที่เกาะง่ามใหญ่ รวมทั้งหมด 4 นายที่พบในวันนี้ อยู่ระหว่างการเคลื่อนย้าย ทำให้ขณะนี้ ยอดกำลังพล 105 นาย รอดชีวิต จำนวน 76 นาย เสียชีวิตรวม 24 นาย ในจำนวนนี้สามารถระบุชื่อได้แล้ว 21 นาย รายล่าสุดคือ พลทหารชลัช อ้อยทอง พิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลและดีเอ็นเอ คงเหลือผู้สูญหายจำนวน 5 นาย

#กองทัพเรือ

#เรือหลวงสุโขทัย 

ข่าวทั้งหมด

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้