เหยื่อเหตุเรือสุโขทัยล่ม เปิดใจ ลอยคอ 4 ชม. ให้กลับกรม 8 ม.ค.นี้

ภาพประกอบข่าว © Matichon ภาพประกอบข่าว

เหยื่อเหตุเรือสุโขทัยล่ม เปิดใจ โดดหนีเอาตัวรอด ลอยคอในทะเล 4 ชั่วโมง จนเรือขนส่งน้ำมันมาพบ หน่วยให้กลับเข้ากรม วันที่ 8 ม.ค.ปีหน้า

วันที่ 27 ธ.ค.2565 นายสุรินทร์ สุริยะวงศ์ นายอำเภอสะเดา จ.สงขลาเข้าเยี่ยมพลทหารบุคอรีย์ หมัดหนิ หมู่ 2 ต.ปริก หนึ่งในทหารที่รอดชีวิตจากเหตุเรือหลวงสุโขทัยล่ม ที่อ่าวไทย จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยพลทหารบุคอรีย์เผยว่าทางหน่วยให้ลากลับบ้านเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. และให้กลับหน่วยอีกครั้งในวันที่ 8 ม.ค.2566

พลทหารบุคอรีย์เผยว่า ตนสังกัดหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาชายฝั่ง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ได้รับคำสั่งให้ไปร่วมพิธีครบรอบ 100 ปี กรมหลวงชุมพร ที่ จ.ชุมพร กับเรือหลวงสุโขทัย พร้อมพวก 15 นาย ในเรือมีกำลังพลทั้งหมด 106 นาย สังกัดหลายหน่วย ออกจากฐานทัพเรือสัตหีบ เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. เวลา 17.00 น. จนถึงช่วงเกิดเหตุ เรือเอียงเนื่องจากคลื่นลมแรง ทำให้น้ำไหลเข้าเรืออย่างต่อเนื่องจนเรือเอียงมากขึ้น และเริ่มจมลงจากด้านท้ายลงไปจนหัวเรือ

ภาพประกอบข่าว © Matichon ภาพประกอบข่าว

“ผมกระโดดออกจากเรือเพื่อเอาตัวรอด ได้ลอยคออยู่ในทะเลประมาณ 4 ชั่วโมง มีเรือขนส่งน้ำมันมาพบ และช่วยเหลือพาขึ้นฝั่งที่ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์”

สำหรับสภาพร่างกายนั้น ตนไม่ได้รับบาดเจ็บ ทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้เข้ามาสอบสวนอาการเพื่อประเมินสภาพจิตใจ อาการโดยรวมปกติและพร้อมกลับไปปฏิบัติหน้าที่แล้ว นอกจากนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการจัดทำเอกสารทางราชการที่สูญหาย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ใบขับขี่และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้อีกด้วย

ภาพประกอบข่าว © Matichon ภาพประกอบข่าว

Microsoft และคู่ค้าอาจได้รับค่าคอมมิชชันหากคุณซื้อบางสิ่งผ่านลิงก์ที่แนะนำในบทความนี้

อำเภอ สัตหีบ

อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้

ข่าว ที่เกี่ยวข้อง

Recommended

Welcome Back!

Login to your account below

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.