Chonburi Sponsored

workpointTODAY | What Works TODAY

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

กองทัพเรือจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพกำลังพลที่เสียชีวิตในเหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยอับปาง ขณะที่ภารกิจค้นหาและช่วยเหลือผู้รอดชีวิตดำเนินการมาครบ 1 สัปดาห์แล้ว สรุปยอดผู้เสียชีวิต 18 ราย สูญหาย 10 ราย และรอดชีวิต 76 นาย ล่าสุดภาคเอกชนคาใจ ทำไมกองทัพเรือไม่ขอความช่วยเหลือจากเรือลำอื่น หรือประกาศ Mayday ทางช่อง 16 

เฟซบุ๊ก ThaiArmedForce.com เปิดเผยว่า แหล่งข่าวจากเรือพาณิชย์ตั้งข้อสังเกตกับ TAF ว่าทำไม กองทัพเรือ (ทร.) ไม่ขอความช่วยเหลือผ่านช่อง 16 สากลตอนอพยพลูกเรือหลวงสุโขทัย เพราะมีเรือเอกชนพร้อมช่วย และตั้งคำถามถึงความพร้อมในการควบคุมความเสียหาย และเสื้อชูชีพที่มองว่ากองทัพควรมีมาตรฐานไม่ต่างจาก SOLAS ของเอกชน

แหล่งข่าวระบุว่า เดินเรืออยู่ในบริเวณไม่ไกลจากเรือหลวงสุโขทัย หันหัวเรือสู้คลื่นอยู่ ได้ยินวิทยุช่อง 16 จากเรือหลวงกระบุรีตอนเย็นว่าเรือหลวงสุโขทัยกำลังสละเรือใหญ่ จึงเตรียมพร้อมที่จะไปช่วยเผื่อมีการเรียกให้ช่วย เพราะวิ่งแค่ 4 – 5 ชั่วโมงก็ถึงแล้ว แต่ก็เงียบ ช่อง 16 VHF ความถี่ 156.8 MHz เป็นช่องสื่อสารสากลสำหรับขอความช่วยเหลือทางทะเลฉุกเฉิน ซึ่งผู้ปฏิบัติงานทางเรือจะมีวิทยุที่สามารถรับฟังช่องความถี่นี้ได้

สงสัยว่าทำไมไม่ขอความช่วยเหลือหรือประกาศ Mayday ทางช่อง 16 ถึงจะบอกว่าการสื่อสารถูกตัดขาด แต่ระบบ GMDSS (Global Maritime Distress and Safety System) ก็น่าจะมีแบตเตอรี่สำรองให้ใช้อยู่ระยะเวลาหนึ่ง และอยากรู้ว่าไปขอความช่วยเหลือเรือ Tug (เรือลากจูง) จากท่าเรือประจวบทำไม เพราะใกล้ๆ กันก็มีเรือ Offshore ทำงานอยู่ เนื่องจากเรือ Tug ของท่าเรือประจวบเป็นเรือเล็ก สู้คลื่นไม่ได้ ขอมาก็ใช้งานลำบาก แต่เรือ Offshore สู้คลื่นได้สบาย และอยู่ห่างไปแค่ 20 ไมล์เท่านั้นเอง เดินทางสองชั่วโมงก็ถึงจุดเกิดเหตุแล้ว รวมถึงเรือมีความพร้อมในภารกิจค้นหาและกู้ภัยมากกว่าเรือ Tug หรือเรือหลวงกระบุรีด้วย

อีกประเด็นหนึ่งที่แหล่งข่าวจากวงการเดินเรือพาณิชย์ตั้งข้อสงสัยก็คือ พยากรณ์อากาศเวลา 18.00 น. ของวันที่ 18 ธ.ค.นั้น ระบุว่ามีคลื่นเฉลี่ย 4 เมตร และคลื่นสูงสุดเกือบ 6 เมตร ซึ่งนอกจากจะแสดงให้เห็นว่าเรือ Tug ชายฝั่งไม่น่าจะสู้ไหวแล้ว ก็น่าสังเกตว่าทำไมเรือหลวงสุโขทัยถึงยังคงออกเรืออยู่

“สิ่งที่สำคัญคืออยากรู้ว่าน้ำเข้าได้อย่างไร เรือมีรอยแตกหรือเปล่า และรอยแตกเกิดจากการนำเรือหรือไม่ ประตูผนึกน้ำได้เปลี่ยนยางขอบประตูหรือเปล่า ทดสอบบ้างหรือไม่ เพราะจริงๆ น่าจะกันน้ำได้ แต่ไม่ว่าจะอย่างไร จริงๆ เรือควรเข้าเทียบท่าที่บางสะพานดีที่สุด ไม่ควรจะกลับไปสัตหีบทั้งๆ ที่สภาพเรือเป็นแบบนี้”

และสุดท้าย มีการตั้งข้อสงสัยถึงเสื้อชูชีพที่ไม่เพียงพอกับคนบนเรือ โดยระบุว่า เข้าใจว่าอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเลหรือ SOLAS ที่เป็นข้อตกลงด้านความปลอดภัยในทะเล และกำหนดให้มีชูชีพเพียงพอสำหรับทุกคนบนเรือนั้น ถึงแม้จะไม่ใช้บังคับกับกองทัพ แต่เรือของกองทัพก็ควรจะมีมาตรการในการดูแลชีวิตของกำลังพลไม่ต่างกัน

พระราชทานเพลิงศพลูกเรือหลวงสุโขทัย

ขณะที่ช่วงบ่ายวานนี้ (26 ธ.ค. 2565) เวลา 13.00 น. พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ ว่าที่เรือเอก สามารถ แก้วผลึก พันจ่าเอก อัชชา แก้วสุพรรณ์ และ พันจ่าเอก อำนาจ พิมที ณ ฌาปนสถานกองทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่กองทัพเรือ ตลอดจนกำลังพลกองทัพเรือจากหน่วยต่างๆ ร่วมในพิธีอย่างสมเกียรติ

โดยผู้บัญชาการทหารเรือ รับร่างกำลังพลที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยอับปาง จำนวน 4 นาย ที่ได้เคลื่อนร่างจากท่าอากาศยานทหาร กองบิน 6 ดอนเมือง มายังสนามบินอู่ตะเภา ก่อนนำไปประกอบพิธี ณ ฌาปนสถานกองทัพเรือสัตหีบ ประกอบด้วย จ่าตรี ศราวุธ นาดี สังกัดเรือหลวงสุโขทัย พลทหาร สิทธิพงษ์ หงษ์ทอง สังกัดหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน พลทหาร จิราวัฒน์ ธูปหอม สังกัดหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และพลทหาร วรพงษ์ บุญละคร สังกัดหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง

จากนั้นจะเคลื่อนศพไปยังฌาปนสถานกองทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมีทหารกองเกียรติยศรับรถขบวนเคลื่อนย้ายร่าง ตลอดเส้นทางผ่านอย่างสมเกียรติ ซึ่งผู้เสียชีวิตทั้ง 4 นาย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ศพอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ ต่อมา เวลาประมาณ 17.00 น. ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นผู้อัญเชิญพวงมาลาพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ไปวางที่หน้าหีบศพกำลังพลทั้ง 4 นาย โดยตั้งบำเพ็ญกุศลฯ ณ ฌาปนสถานกองทัพ

สรุปผลการพิสูจน์อัตลักษณ์เพิ่มอีก 8 นาย

ด้านพลเรือเอก ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ เปิดเผยว่า จากผลการพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลของร่างผู้เสียชีวิตทั้ง 8 นาย ที่มีหลักฐานบ่งชี้ก่อนหน้านี้ว่าเป็นกำลังพลกองทัพเรือ มีรายชื่อดังนี้
1. จ่าเอก บุญเลิศ ทองทิพย์
2. จ่าเอก ชูชัย เชิดชิด
3. จ่าโท ธวัชชัย สาพิราช
4. จ่าตรี สถาพร สมเหนือ
5. จ่าตรี นพณัฐ คำวงค์
6. จ่าตรี ศุภกิจ ทิวาลัย
7. พลทหาร ปรีชา รักษาภักดี
8. พลทหาร จำลอง แสนแก

สรุปการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (วันที่ 26 ธันวาคม 2565) เวลา 17.30 น. ยอดกำลังพล 105 นาย รอดชีวิต จำนวน 76 นาย เสียชีวิตรวม 18 นาย ประกอบด้วย
1. เรือโท สามารถ แก้วผลึก
2. พันจ่าเอก อัชชา แก้วสุพรรณ์
3. จ่าเอก จักร์พงศ์ พูลผล
4. จ่าตรี ศราวุธ นาดี
5. พลทหาร อัครเดช โพธิ์บัติ
6. พันจ่าเอก สมเกียรติ หมายชอบ
7. พลทหาร จิราวัฒน์ ธูปหอม
8. พลทหาร สิทธิพงษ์ หงษ์ทอง
9. พันจ่าเอก อำนาจ พิมที
10. พลทหาร วรพงษ์ บุญละคร
11. จ่าเอก บุญเลิศ ทองทิพย์
12. จ่าเอก ชูชัย เชิดชิด
13. จ่าโท ธวัชชัย สาพิราช
14. จ่าตรี สถาพร สมเหนือ
15. จ่าตรี นพณัฐ คำวงค์
16. จ่าตรี ศุภกิจ ทิวาลัย
17. พลทหาร ปรีชา รักษาภักดี
18. พลทหาร จำลอง แสนแก

คงเหลือผู้สูญหายจำนวน 11 นาย ( ยังไม่นับรวมเคสที่เจอล่าสุดในวันนี้ 1 นาย ซึ่งรอผลและหลักฐานบ่งชี้ว่าเป็นกำลังพลกองทัพเรือ จึงจะมีการตัดยอด)

รายชื่อกำลังพลที่ยังคงสูญหาย รวม 11 นาย

กำลังพล เรือหลวงสุโขทัย จำนวน 7 นาย
1. ว่าที่ นาวาตรี พลรัตน์ สิโรดม
2. พันจ่าเอก คุณากร จริยศ
3. จ่าโท สหรัฐ อีสา
4. จ่าตรี โสภณ วงษ์สนิท
5. จ่าตรี สิริธิติ งามทอง
6. พลทหาร ชลัช อ้อยทอง
7. พลทหาร ชัยชนะ ช่างวาด

กำลังพล หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน จำนวน 2 นาย
1.พันจ่าเอก จิราวัฒน์ เจริญศิลป์
2. พลทหาร ทวีศักดิ์ แซ่เซียว

กำลังพล หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง จำนวน 2 นาย
1. จ่าเอก ไพร ร่วมญาติ
2. พลทหาร อับดุลอาซิส มะแอ

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้