Chonburi Sponsored

นายอำเภอสะเดา รุดเยี่ยมให้กำลังใจ พลทหารผู้รอดชีวิต จากเรือหลวงสุโขทัย

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

นายอำเภอสะเดา รุดเยี่ยมให้กำลังใจและมอบกระเช้าแก่ทหารเรือที่รอดชีวิตจากเรือหลวงสุโขทัย ถูกน้ำทะเลซัดและน้ำเข้าเรือจนทำให้เรือเอียง ก่อนอับปางลงในทะเล

เมื่อวันที่​ 27​ ธันวาคม นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา มอบหมายให้นายสุรินทร์ สุริยะวงศ์ นายอำเภอสะเดา นำหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าเยี่ยมให้กำลังใจพลทหาร บุคอรีย์ หมัดหนิ อาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่ 2 ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นหนึ่งในทหารเรือที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยถูกน้ำทะเลซัดและน้ำเข้าเรือจนทำให้เรือเอียง ก่อนอับปางลงในทะเล

จากการสอบถามข้อมูลจากพลทหาร บุคอรีย์ หมัดหนิ สังกัดหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาชายฝั่ง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ว่าได้รับคำสั่งให้ไปร่วมพิธีครบรอบ 100 ปี กรมหลวงชุมพร ที่จังหวัดชุมพร โดยไปกับเรือหลวงสุโขทัย พร้อมพวกจำนวน 15 นาย ในเรือมีจำนวน 106 นาย สังกัดหลายหน่วย ออกจากฐานทัพเรือสัตหีบ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม เวลา 17.00 น. จนถึงเวลา 23.00 น. ของวันที่ 18 ธันวาคม เรือหลวงสุโขทัย เกิดการเอียงเนื่องจากคลื่นลมแรง ทำให้น้ำไหลเข้าเรืออย่างต่อเนื่องจนเรือเอียงมากขึ้น และเริ่มจมลงจากด้านท้ายลงไปจนหัวเรือ

หลังกระโดดออกจากเรือเพื่อเอาตัวรอด ได้ลอยคออยู่ในทะเลประมาณ 4 ชั่วโมง มีเรือขนส่งน้ำมันมาพบ และช่วยเหลือพาขึ้นฝั่งที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากนั้นทางหน่วยจึงให้ลากลับบ้านเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม และให้กลับหน่วยในวันที่ 8 มกราคม ส่วนสภาพร่างกายไม่ได้รับบาดเจ็บ ทางสาธารณสุขได้เข้ามาสอบสวนอาการเพื่อประเมินสภาพจิตใจ อาการโดยรวมปกติและพร้อมกลับไปปฏิบัติหน้าที่ นอกจากนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการจัดทำเอกสารทางราชการที่สูญหาย อาทิ บัตรประจำตัวประชาชน ใบขับขี่ รวมถึงเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้อีกด้วย

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้