Chonburi Sponsored

3ทำเลเสี่ยง!คอนโด-บ้านเหลือขายมากสุดโซนอีอีซี

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

อสังหาริมทรัพย์

25 ธ.ค. 2565 เวลา 7:00 น.

เปิด 3ทำเลเสี่ยง! คอนโด-บ้านเหลือขายมากสุดโซนอีอีซี หลังดีมานด์ชะลอตัวสวนซัพพลายใหม่เพิ่มขึ้นหาดจอมเทียน-พัทยา-เขาพระตำหนัก-แหลมฉบัง คอนโดเหลือขายมากที่สุด นิคมฯอมตะซิตี้-อีสเทิร์น,พานทอง-พนัสนิคม,เหมราช บ้านเหลือขายสูงสุด

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) รายงานภาพรวมสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 3 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา พบว่าหลังจากสถานการณ์เห็นภาพการชะลอตัวลงในด้านอุปสงค์ ขณะที่อุปทานใหม่เริ่มเข้าสู่ตลาดมากขึ้นกว่า 2 ไตรมาสที่ผ่านมา

แต่โดยภาพรวมยังอยู่ในช่วงการหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาส 3 ปี 2565 อุปทานพร้อมขาย หรือ Total Supply มีจำนวน 54,116 หน่วย ลดลง -9.11% มูลค่ารวม 184,985 บาท ลดลง -9.94% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (QoQ)
 

ทำเลที่มีที่อาคารชุดเหลือขายมากที่สุด 3 อันดับแรก ประกอบด้วย 

  • อันดับ 1 หาดจอมเทียน จำนวน 5,742 หน่วย มูลค่า 29,066 ล้านบาท  (มูลค่าเป็นอันดับ 1)
  • อันดับ 2 พัทยา-เขาพระตำหนัก จำนวน 4,287 หน่วย  มูลค่า 24,552 ล้านบาท (มูลค่าเป็นอันดับ 2)
  • อันดับ 3 แหลมฉบัง จำนวน 1,564 หน่วย มูลค่า 2,797 ล้านบาท (มูลค่าเป็นอันดับ 5)

ในส่วนของโครงการบ้านจัดสรรมีหน่วยเหลือขายสูงสุด 3 อันดับแรก ประกอบด้วย

  • อันดับ 1 นิคมฯอมตะซิตี้-อีสเทิร์น  จำนวน 5,247 หน่วย มูลค่า 10,546 ล้านบาท (มูลค่าเป็นอันดับ 1)
  • อันดับ 2 นิคมฯพานทอง-พนัสนิคม จำนวน 2.339 หน่วย  มูลค่า 5,454 ล้านบาท (มูลค่าเป็นอันดับ 9)
  • อันดับ 3 นิคมฯเหมราช จำนวน  2,274 หน่วย มูลค่า 5,682  ล้านบาท (มูลค่าเป็นอันดับ 4)

อย่างไรก็ตามภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่ 3 จังหวัด EEC ในปี 2566 สถานการณ์โดยรวมจะยังคงอยู่ในช่วงของการปรับตัวอีกครั้ง หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งประกาศนโยบายชัดเจนในเรื่องของการนำกฎเกณฑ์ LTV กลับมาใช้อีกครั้ง

ส่งผลให้การเปิดขายโครงการใหม่มีแนวโน้มจะลดลง โดยตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC จะยังคงถูกขับเคลื่อนโดยโครงการบ้านจัดสรร และผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยังคงเน้นการขายสินค้าคงค้างในทำเล และการพัฒนาที่อยู่อาศัยในระดับราคาที่เหมาะสมความสามารถของในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้ซื้อที่ยังไม่สูงนัก 
 

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม