Chonburi Sponsored

แพทย์ระบุ “พลฯ ชนัญญู” จิตใจดี อาการดีขึ้น ไม่น่าห่วง พรุ่งนี้ย้ายไปสัตหีบ

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ผอ.รพ.บางสะพาน ระบุอาการของ พลฯ ชนัญญู แก่นศรียา หนึ่งใน 76 ผู้รอดชีวิตจากเรือหลวงสุโขทัยอับปาง อาการดีขึ้น ยิ้มบ้างแล้ว จิตใจดี ไม่มีอาการน่าห่วง แต่ยังต้องให้น้ำเกลือต่ออีก 3-4 วัน เพื่อให้ค่ากล้ามเนื้อกลับคืนสภาพ พรุ่งนี้ (23 ธ.ค.) จะย้ายไปที่สัตหีบ

วันนี้ (22 ธ.ค.2565) เวลา 08.30 น.นพ.เชิดชาย ชยวัฑโฒ ผอ.โรงพยาบาลบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วยทีมแพทย์ทหารเข้าตรวจอาการของ พลฯ ชนัญญู แก่นศรียา แก่นศรียา ลูกเรือหลวงสุโขทัย ที่เข้ามารักษาตัวที่โรงพยาบาล ตั้งแต่เมื่อวานนี้ (21 ธ.ค.) โดยยังคงงดเยี่ยมผู้ป่วย

นพ.เชิดชาย ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า จากการเข้าเยี่ยมตรวจอาการของพลฯ ชนัญญู พบว่า อาการสดชื่นขึ้น หลังจากได้ให้น้ำเกลือในปริมาณค่อนข้างมาก เพราะมีอาการขาดน้ำอย่างรุนแรง ส่วนบาดแผนถลอกตามร่างกายดีขึ้น

นอกจากนี่ค่าตับที่ผิดปกติเล็กน้อยในช่วงแรก เนื่องจากการสลายของกล้ามเนื้อ จากการใช้แรงว่ายน้ำ เพื่อลอยตัวอยู่ทำให้ใช้แรงเยอะ แต่ค่าตับแนวโน้มดีขึ้นเรื่อย ๆ คาดว่าจะรักษาอาการต่ออีก 1-2 วัน จากนั้นจะย้ายตัวกลับไปรักษาที่โรงพยาบาลในสัตหีบ จ.ชลบุรีได้

อาการโดยรวมดีขึ้น ได้เห็นรอยยิ้มของผู้ป่วย จากเมื่อวานที่ค่อนข้างอ่อนเพลีย วันนี้สดชื่นขึ้นมาก การเคลื่อนไหวของร่างกายก็ดีขึ้น แต่ยังคงงดเยี่ยมเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ

ด้านทีมแพทย์ทหารเรือ ที่เข้ามาเยี่ยมพลฯ ชนัญญู ระบุว่า จากการหารือกับทีมจิตแพทย์ จะใช้เวลา 2 สัปดาห์ในการเยียวยาทางด้านจิตใจ แม้ว่าตอนนี้พลฯ ชนัญญู จะไม่มีอาการฝันร้าย หรือมีอาการบ่งชี้ภาวะกระทบทางจิตใจ

ตอนนี้ยังต้องให้สารน้ำให้เพียงพอต่ออีก 3-4 วัน เพื่อรักษาระดับกล้ามเนื้อเอนไซม์ และค่าไตกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ และผลเลือดที่ดีขึ้นจะลดความเร็วของการให้น้ำเกลือ และคาดว่าพรุ่งนี้ (23 ธ.ค.) น่าส่งตัวไปรักษาต่อที่สัตหีบ

สำหรับพลฯ ชนัญญู เป็น 1 ใน 2 ลูกเรือกลุ่มที่สูญหายไปก่อนหน้านี้ 30 คนและได้รับการช่วยเหลือจากเรือหลวงอ่างทองกลับเข้าฝั่งมาเมื่อวันที่ 21 ธ.ค.นี้ และถือเป็นผู้รอดชีวิตคนที่ 76 จาก 105 นาย ถูกส่งตัวมารักษาที่ รพ.บางสะพาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บทวิเคราะห์ : 3 บทเรียนต้องถอดกรณี ร.ล.สุโขทัย

กองทัพเรือเตรียมส่งยานสำรวจใต้น้ำกู้ ร.ล.สุโขทัย

ช่วยลูกเรือประมงคลื่นซัดอับปางกลางทะเล รอด 1 เสียชีวิต 3 คน

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้