Chonburi Sponsored

“พ.จ.อ.เสริม” หนึ่งในกำลังพลรอดชีวิต พบหน้าครอบครัวแล้ว

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ครอบครัว “ศรีสมอ” พบหน้าลูกชาย “พ.จ.อ.เสริม” กำลังพลเรือหลวงสุโขทัยแล้ว หลังเข้ารักษาตัว ที่ รพ.บางสะพาน

วันนี้ (22 ธ.ค.2565) ครอบครัว”ศรีสมอ” เดินทางมาที่ ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือกำลังพล เรือหลวงสุโขทัย กองเรือยุทธการ ที่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เพื่อตามหา พ.จ.อ.เสริม ศรีสมอ หนึ่งในกำลังพลที่รอดชีวิต และถูกส่งตัวไปรักษาที่ โรงพยาบาลบางสะพาน อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์

นายสอน ผู้เป็นพ่อระบุว่า ทางครอบครัวได้พูดคุยโทรศัพท์สั้น ๆ กับ พ.จ.อ.เสริม เมื่อ 2 วันก่อน แต่จนถึงขณะนี้ยังติดต่อไม่ได้ซึ่งเจ้าหน้าที่แจ้งว่า ได้ส่งตัว พ.จ.อ.เสริม มาที่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี แล้ว

แต่เมื่อเดินทางมาถึง ไม่ปรากฏชื่อของ พ.จ.อ.เสริม และทางเจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างเร่งตรวจสอบเพิ่มเติมให้ซึ่งครอบครัวได้คุยโทรศัพท์ กับ พ.จ.อ.เสริม เมื่อ 2 วันก่อน โดยลูกบอกว่า โทรศัพท์ตกน้ำเปียก ไม่มีโทรศัพท์ใช้ จากนั้นจนถึงขณะนี้ ก็ติดต่อไม่ได้อีก

ครอบครัวซึ่งมีทั้ง พ่อ แม่ ลุง ป้า และ ลูกสาววัย 6 ขวบของ พ.จ.อ.เสริม ออกเดินทางมาจาก ต.ภูสวนแตง อ.บ้านใหม่ จ.บุรีรัมย์ เมื่อ เวลา 03.00 น. เพื่อมาถึงที่ศูนย์ช่วยเหลือฯ ที่สัตหีบ และขณะนี้ยังนั่งรอความชัดเจนจากการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่

นายสอง ผู้เป็นพ่อ ระบุว่า เหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยอับปางที่เกิดขึ้น แม้ว่าส่วนตัวจะดีใจที่ลูกรอดชีวิต แต่อีกมุมก็เสียใจและขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของเพื่อนลูกและครอบครัวของผู้สูญเสียทุกคน

ล่าสุด พ.จ.อ.เสริม ศรีสมอ หนึ่งในกำลังพลที่รอดชีวิต จากเหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยอับปาง ได้พบกับครอบครัวแล้ว โดยได้โผเข้ากอด บิดา มารดา และลูกสาววัย 12 ปี

พ.จ.อ.เสริม เล่าว่า ตนเองเจอคลื่นซัดระลอกสอง จากนั้นลอยคออยู่ในทะเล ว่ายน้ำไปเรื่อย ๆ จนมีเรือกระบุรีเข้าช่วยเหลือกำลังพลในชุดแรก จนรอดชีวิตมา

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้