ในหลวง พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ศพ 6 กำลังพล เรือหลวงสุโขทัย

ภาพประกอบข่าว © Matichon ภาพประกอบข่าว

ในหลวง พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ศพ 6 กำลังพล เรือหลวงสุโขทัย

เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 22 ธ.ค. 2565 ณ ฌาปนสถาน กองทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ แก่ 6 กำลังพลเรือหลวงสุโขทัยที่อับปาง

ประกอบด้วย 1.ว่าที่ เรือเอก สามารถ แก้วผลึก สรั่งช่างกล แผนกช่างกล เรือหลวงสุโขทัย หมวดเรือที่ 1 กองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ 2. พันจ่าเอก อำนาจ พิมที่ พลขับรถ หมู่ตรวจการณ์ หน้าที่ 1 กองร้อยรักษาฝั่งที่ 2 กองพันรักษาฝั่งที่ 12 กรมรักษาฝั่งที่ 1 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง

3. พันจ่าเอก อัชชา แก้วสุพรรณ์ ช่างโซนาร์ แผนกอาวุธและการเรือ เรือหลวงสุโขทัย หมวดเรือที่ 1 กองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ 4. พันจ่าเอก สมเกียรติ หมายชอบ พันจ่าส่งกําลัง กองบังคับการ กองร้อยสนับสนุน กองพันซ่อมบำรุง กรมสนับสนุน กองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

5. จ่าเอก จักรพงศ์ พูลผล จ่าปืน แผนกอาวุธและการเรือ เรือหลวงสุโขทัย หมวดเรือที่ 1 กองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ และ6. พลทหาร อัครเดช โพธิ์บ้ติ พลเรือ แผนกเดินเรือ เรือหลวงสุโขทัย หมวดเรือที่ 1 กองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ

การนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหม เป็นผู้แทนในพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ จากนั้น นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานอันเชิญและเป็นผู้แทนประกอบพิธีวางพวงมาลาหลวงพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี  และพวงมาลาทรงประทาน จากพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ หน้าหีบศพ เพื่อเป็นเกียรติแก่กำลังพลทั้ง 6 นาย และวงศ์ตระกูล

โดยมี พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ บิดา มารดา ญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิต พร้อมด้วย ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหารเรือ ตำรวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชน เข้าร่วมเป็นเกียรติเป็นจำนวนมาก

Microsoft และคู่ค้าอาจได้รับค่าคอมมิชชันหากคุณซื้อบางสิ่งผ่านลิงก์ที่แนะนำในบทความนี้

อำเภอ สัตหีบ

อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้

ข่าว ที่เกี่ยวข้อง

Recommended

Welcome Back!

Login to your account below

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.