Chonburi Sponsored

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และพวงมาลาหน้าหีบศพกำลังพลที่เสียชีวิต

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

เช้านี้ที่หมอชิต – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และพวงมาลาหน้าหีบศพกำลังพลที่เสียชีวิตจากเหตุเรือหลวงสุโขทัย อับปางกลางทะเลอ่าวไทย ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ที่ฌาปนสถาน กองทัพเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานในพิธีเชิญพวงมาลาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี วางที่หน้าหีบศพ กำลังพลทหารเรือ 6 นาย ที่เสียชีวิตจากเหตุเรือหลวงสุโขทัย ถูกพายุคลื่นลมแรงซัดจนเป็นเหตุให้เรืออับปางกลางทะเลอ่าวไทย บริเวณพื้นที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2565 ประกอบด้วย เรือโท สามารถ แก้วผลึก, พันจ่าเอก สมเกียรติ หมายชอบ, พันจ่าเอก อัชชา แก้วสุพรรณ์, พันจ่าเอก อำนาจ พิมที, จ่าเอก จักรพงค์ พูนผล และพลทหาร อัครเดช โพธิ์บัติ ในการนี้ พระบรมวงศานุวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม และโปรดให้ เชิญพวงมาลาพระราชทาน และพวงมาลาประทานวางที่หน้าหีบศพ

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเชิญน้ำหลวงอาบศพ แก่กำลังพลทหารเรือทั้ง 6 นาย ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับศพผู้ที่เสียชีวิตไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ โดยตลอด การได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณครั้งนี้ ยังความปลื้มปีติแก่ครอบครัวกำลังพลที่เสียชีวิต อย่างหาที่สุดมิได้

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้