Chonburi Sponsored

แม่พลทหาร ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเปิดทางให้ค้นหาลูกสำเร็จ

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

แม่พลทหารจุดธูปขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์หวังเปิดทางช่วยหาพลทหารสูญหายจากเหตุเรือสุโขทัยอับปางให้สำเร็จ

วันนี้ (22 ธ.ค.2565) น.ส.ธวัลรัตน์ เชื้อพงษ์ มารดาของพลทหารทวีศักดิ์ แซ่เชียว ซึ่งอยู่ในรายชื่อผู้สูญหายจากเหตุเรือหลวงสุโขทัยอับปาง กล่าวว่า เดินทางมาจาก จ.ราชบุรี ในช่วงแรกไปรอฟังข่าวที่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ก่อน 2 วันจากนั้นขับรถมาถึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเวลา 04.00 น.

น.ส.ธวัลรัตน์ กล่าวว่า ทราบข่าวว่าเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมาว่า เรือหลวงสุโขทัยอับปาง และมีลูกเรือสูญหาย และยังหาลูกชาย (พลทหารทวีศักดิ์) ไม่เจอ จึงเดินทางมาเฝ้ารอหารค้นหา โดยก่อนหน้าที่เฝ้ารอที่ อ.สัตหีบ 

ยังมีหวัง ตราบใดที่ยังไม่เห็นเขาก็ยังมีหวัง เขาต้องมีชีวิตอยู่

น.ส.ธวัลรัตน์ ยังกล่าวถึงการจุดธูปขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า มาเรียก ถ้าวันนี้เขายังมีชีวิตอยู่ก็ของให้เทวดา เปิดทางให้เรา ให้เห็นเขา วันนี้ยังมีความหวัง ตราบใดที่ยังไม่เห็นตัว ก็ยังมีความหวังว่าเขาต้องรอด

น.ส.ธวัลรัตน์ ยังกล่าวกว่า พลทหารทวีศักดิ์ จะปลดประจำการในวันที่ 1 มี.ค.นี้  ขณะนี้อายุ 23 ย่าง 24 ปี และได้พูดคุยกันล่าสุดในวันที่ 11 ธ.ค.และเขาได้กลับไปบ้านและวันที่ 15 ธ.ค.ก็ขึ้นมาและลงมาที่ อ.บางสะพาน ในวันที่ 18 ธ.ค.

ปกติลูกชายจะอยู่ที่ค่ายทหาร และตนเองทำงานอยู่ ซึ่งจะพูดคุยกับเขาสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แต่จะโทรศัพท์คุยกับแฟนเยอะกว่า 

ก็ยังติดใจว่าให้พลทหารน้อย ๆ ลงเรือ แต่ทำไม่มีเสื้อชูชีพ ถ้ามีเสื้อชูชีพวัน 1-2 วันอาจจะเจอ แต่ถ้าไม่มี ก็ไม่รู้ว่าชะตากรรมเขาเป็นอย่างไร ถ้ามีเสื้อชูชีพอย่างน้อยก็เจอไว 

เห็นเขาโพสต์ว่า เจอกันที่ จ.ชุมพร แต่ไม่คิดว่าจะเจอกันที่นี่ ไม่คิดว่าเขาจะนั่งเรือมา ตอนที่ไปที่ อ.สัตหีบ ก็ไปเจอคนที่มีชีวิตรอดกลับมา ซึ่งแฟนของผู้ที่รอดบอกว่าเจอแฟนแล้วแต่ยังไม่เจอลูกเรา 

ป้าเขาส่งรูปมาให้ดู ตอนเรือจะอับปาง ก็จำรอยสักเขาได้ว่ามีรอยสักที่แขน ตอนนั้นไม่มีเสื้อชูชีพ สวมเสื้อทหาร ก็เราจำลูกตัวเองได้เพราะว่ามีรอยสัก ตอนนั้นเกาะอยู่กำลังจะโดด ส่งมาบอกว่าใช่ลูกของเราหรือไม่ 

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้