Chonburi Sponsored

ผบ.ทร. เลื่อนงาน100 ปี “เสด็จเตี่ย” หลัง”เรือหลวงสุโขทัย”ขนคนร่วมงานอับปาง

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

การเมือง

19 ธ.ค. 2565 เวลา 10:18 น.

“ผบ.ทร.” สั่งเลื่อนกิจกรรม วันครบรอบ 100 ปี วันสิ้นพระชนม์ องค์พระบิดาหารเรือไทย ในวันนี้ (19 ธ.ค.) เพื่อเร่งช่วยเหลือกำลังพล “เรือหลวงสุโขทัย” ปฏิบัติภารกิจขนกำลังพลร่วมงาน พร้อมตรวจสอบเหตุเรือจม

เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.2565 มีรายงานว่า พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) มีคำสั่งให้เลื่อนการจัดกิจกรรมครบรอบ 100  ปี การสิ้นพระชนม์ของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ในวันนี้ (19 ธ.ค.) เพื่อเร่งช่วยเหลือกำลังพลประจำ เรือหลวงสุโขทัย  ที่ยังอยู่ระหว่างการค้นหา และตรวจสอบสาเหตุเรือจมที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อคืน (18 ธ.ค.) ที่ผ่านมา โดยให้เหลือเพียงพิธีตักบาตรพระสงฆ์ หน้ากองบัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ และหน่วยทหารทั่วประเทศตามปกติ

สำหรับกิจกรรมที่เลื่อนออกไปก่อน เช่น พิธีติดตั้งตราสัญลักษณ์ครบรอบวันสิ้นพระชนม์ 100 ปี  ,พิธีถวายสักการะพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์  พิธีร้องเพลงพระนิพนธ์ฯ (เพลงดาบของชาติ เพลงเดินหน้า เพลงดอกประดู่) และการจัดขบวนเรือยิงสลุตถวายความเคารพ จำนวน 19 นัด 

และการแปรอักษรเป็นตัวเลข 100 โดย ร.ล.จักรีนฤเบศร และเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ในทะเลบริเวณหน้าแหลมปู่เจ้า ฐานทัพเรือสัตหีบ ซึ่งเดิมเรือหลวงสุโขทัยจะต้องร่วมในกิจกรรมนี้ด้วย

ทั้งนี้พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ นับเป็น  “องค์บิดาทหารเรือไทย” และกองทัพเรือได้กำหนดให้วันที่ 19 ธ.ค.2565 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติของพระองค์ เป็นการเริ่มกิจกรรมเทิดพระเกียรติพร้อมกับภาคประชาชนที่รักและศรัทธากรมหลวงชุมพรฯ 

สำหรับเรือหลวงสุโขทัยมีภารกิจที่เดินทางไปร่วมงานจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือ “องค์บิดาของทหารเรือไทย” เนื่องในโอกาสครบรอบวันสิ้นพระชนม์ 100 ปี  ที่บริเวณศาลกรมหลวงชุมพรฯ  จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 19 ธ.ค.2565

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้