Chonburi Sponsored

วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ 2022 ชูแนวคิด Ready to move on ก้าวสู่สุขภาพดีไปพร้อมกัน

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

จุดประกาย

16 พ.ย. 2565 เวลา 18:38 น.105

กลับมาอีกครั้ง กับกิจกรรมเดิน-วิ่ง Thai Health Day Run วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ปี 2022 ชูแนวคิด Ready to move on ก้าวสู่สุขภาพดีไปพร้อมกัน

หลังวิกฤติโควิด-19 เริ่มผ่อนคลาย กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้กลับมาจัดกิจกรรมเดิน-วิ่ง Thai Health Day Run 2022 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ อีกครั้ง งานวิ่งในตำนานของแฟนคลับที่ชื่นชอบในการวิ่งที่ทุกคนรู้จัก และรอคอย 

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า ในปีนี้จะจัดตรงกับวันครบรอบก่อตั้ง สสส. 21 ปี จัดขึ้นภายใต้แนวคิด Ready to move on ก้าวสู่การมีสุขภาพดีไปพร้อมกันเป็นการสานพลังยกระดับการจัดงานวิ่ง ส่งเสริมให้นักวิ่งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการการจัดงานที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เพื่อฟื้นฟูการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยให้กลับมาอีกครั้ง

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะสสส. พูดถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อการมีกิจกรรมทางกายลดลงจาก 74.6% ในปี 2562 เหลือเพียง 55.5% ในปี 2563 ระยะเวลาเฉลี่ยพฤติกรรมเนือยนิ่งอยู่ที่ 14.32 ชั่วโมง/วัน จากที่ปกติอยู่ที่ประมาณ 13.47 ชั่วโมง/วัน สสส. เร่งสานพลังภาคีฟื้นฟูกิจกรรมทางกายทุกช่วงวัย ทำให้ปี 2564 ระดับกิจกรรมทางกายเพียงพอขยับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 63% ที่สำคัญพบว่า กิจกรรมเดิน-วิ่ง เป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากทุกเพศทุกวัยทำเองได้ง่าย ทั้งนี้ สสส. สานพลังภาคี พัฒนานวัตกรรมแอปพลิเคชัน Wind Training ช่วยเตรียมสุขภาพร่างกายนักวิ่งให้พร้อม ผ่านตารางฝึกซ้อมที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ส่งเสริมการใช้ “พื้นที่สุขภาวะละแวกบ้าน” เพิ่มพื้นที่มีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันเพื่อป้องกันและลดการบาดเจ็บจากการซ้อมวิ่ง เตรียมความพร้อมร่างกายก่อนลงสู่สนามอย่างปลอดภัย

นอกจากนี้ “Thai Health Day Run 2022 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่” จะเป็นอีกหนึ่งงานวิ่งที่เป็นต้นแบบงานวิ่งในไทยที่มีความปลอดภัยและได้มาตรฐานตามหลักการสากล ซึ่งในเรื่องนี้ รัฐ จิโรจน์วณิชชากร นายกสมาคมการค้าผู้จัดงานกีฬามวลชนไทย (TMPSA) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า นักวิ่งสามารถเข้าร่วมงานวิ่ง Thai Health Day Run 2022 ได้อย่างมั่นใจ เพราะเป็นงานวิ่งที่มีการออกแบบการแข่งขัน ทั้งการวางเส้นทางความปลอดภัย จัดให้มีหน่วยแพทย์รถพยาบาล ประจำตลอดการแข่งขัน รวมถึงจุดพยาบาลตลอดเส้นทาง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาด้านความปลอดภัยและการแพทย์ให้แก่วงการงานวิ่งของประเทศไทยในอนาคต สร้างความรู้ความเข้าใจให้ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างมาตรฐานด้านความปลอดภัยในงานกีฬามวลชนประเภทงานวิ่ง เพื่อป้องกันเหตุอันไม่พึงประสงค์ที่จะเกิดขึ้นต่อตัวนักวิ่ง

ปิดท้ายด้วย ธัชพล จิโรจน์วีรภัทร ประธานสมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย เสริมว่า “Thai Health Day Run 2022” จัดขึ้นในวันที่ 29 ม.ค. 2566 ที่ สวนเบญจกิติ กรุงเทพฯ เปิดรับสมัครนักวิ่งเข้าร่วมกว่า 1,500 คน แบ่งเป็น 3 ระยะทาง 10 กม. ปล่อยตัว 05.00 น., 5 กม. ปล่อยตัว 05.10 น. และเดินเพื่อสุขภาพ 2.5 กม. ปล่อยตัว 05.15 น. ค่าสมัคร 300 บาททุกระยะ

สนใจสมัครวิ่งได้ตั้งแต่วันที่ 24 พ.ย. 2565 ทางเว็บไซต์ ThaiJogging ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ Thai Health Day Run

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม