Chonburi Sponsored

ชายหายไป 5 วัน เจออีกทีเป็นศพจมบ่อน้ำเสียชีวิต

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

 วันที่ลงข่าว 18 ธันวาคม 2565 เวลา 10:04 น.   334

ชายชาวสุรินทร์รับจ้างตัดอ้อยที่ อ.พนัสนิคม จ.ซลบุรี รับเงินเดือนเสร็จ บอกลาพรรคพวกกลับไปหาพี่สาวที่สุรินทร์ แล้วหายไป 5 วัน ตามหามาเจออีกที พบเป็นศพจมบ่อน้ำเสียชีวิต

เวลา 08.00 น.วันนี้ 18 ธ.ค.65 พนักงานสอบสวนตำรวจภูธรพนัสนิคม จ.ชลบุรี พร้อมกู้ภัย  สว่างเหตุธรรมสถาน เดินทางไปที่บ่อน้ำขนาดใหญ่กว้าง 20 เมตร ยาว 10 เมตร บริเวณ ม.6 ต.ทุ่งขวาง อ.พนัสนิคม พบศพ นาย ณรงค์  เติมงาม อายุ 60 ปี อาชีพรับจ้างตัดอ้อยนื้นที่ อ.พนัสนิคม สภาพนอนคว่ำหน้าจมน้ำเสียชีวิต สภาพเปื่อยไปทั้งตัว บนฝั่งพบ รองเท้าแตะ ผ้าขนหนู ถุงพลาสติก โดยไม่มีร่องรอยการต่อสู้  หน่วยชันสูตรพลิกศพแพทย์ รพ.พนัสนิคม ลงความเห็น ขาดอากาศหายใจ เสียชีวิตประมาณ 4 วัน ญาติๆ ไม่ติดใจการตาย จึงนำศพไปไว้ที่ รพ. ก่อนจะให้ญาติ นำหลักฐานไปติดต่อขอรับศพ ไปทำพิธีตามศาสนาต่อไป

จากการสอบสวน นาย ของ สีดา หน.งานตัดอ้อยที่ ผู้ตายทำงานอยู่ ให้การว่า ผู้ตายเป็นคนสุรินทร์ เดินทางมารับจ้างตัดอ้อย แล้วรับเงินเดือนงวดสุดท้าย เมื่อ 14 ธ.ค.ที่ผ่านมา ปแระมาณ 20.00 น. เห็นเดินไปที่อาบน้ำที่บ่อ แล้วหายไป จึงพากันเดินหา แต่ด้วยความมืด หาไม่เจอ จึงคิดว่า น่าจะเดินทางกลับไปหาพี่สาวที่สุรินทร์ เพราะบอกลางานไว้ แต่มารู้จากพี่สาวที่สุรินทร์ว่า ผู้ตายไม่ได้กลับสุรินทร์ จึงพยายามตามหกามาตลอด 4 วัน จึงมีชาวบ้านไปแจ้ง ผญบ.ว่าพบศพคนจมน้ำ จึงเดินทางมา เห็นกองเสื้อผ้า และเงินในถุงพลาสติก ก็รู้ว่าเป็น นายณรงค์  จึงแจ้ง ตร.ดังกล่าว

ติดตาม ช่อง 8 ได้ทาง
facebook.com/thaich8

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม