Chonburi Sponsored

สะพัด! สุชาติป่วน เลือกข้างแล้ว แต่บิ๊กตู่ไม่ชัดเจน ดอดคุย 'ปชป.-ภท.' เผื่อแผนสำรอง

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

จากกรณีที่ นายสุชาติ ชมกลิ่น ส.ส.ชลบุรี พรรคพลังประชารัฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ประกาศเลือกข้าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตามที่ปรากฎกระแสข่าวว่า จะเข้าพรรครวมไทยสร้าง ในฐานะเป็นประธานที่ปรึกษา และเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี โดยนายสุชาติ ได้ลา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ และได้ลาออกจากตำแหน่งผอ.ของพรรคพลังประชารัฐไปนั้น

ล่าสุด ( 17 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากความชัดเจนของ พล.อ.ประยุทธ์ ว่าจะไปพรรครวมไทยสร้างชาติ หรือจะยืนยันอยู่กับพรรคพลังประชารัฐ ได้ส่งผลกระทบต่อนายสุชาติ ที่ได้ตัดสินใจจะติดตาม พล.อ.ประยุทธ์ เพื่อทดแทนคุณที่สนับสนุนให้นั่งตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จนกระทั่งส่งผลให้ นายสุชาติ ต้องตัดสินใจทางการเมืองใหม่ เพราะหาก พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ไปสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ และยุติบทบาททางการเมือง จะส่งผลให้นายสุชาติไม่มีที่ยืนทางการเมืองทันที

ทั้งนี้ มีกระแสข่าวออกมาว่า นายสุชาติ ได้มีการพิจารณาพรรคการเมืองที่จะไปอยู่ด้วย พร้อมทั้งเจรจาเบื้องต้นแล้ว โดยอาจจะไปพรรคภูมิใจไทย หรือพรรคประชาธิปัตย์ โดยมีการวิเคราะห์กันว่า หากนายสุชาติไปพรรคภูมิใจไทยอาจจะมีปัญหาตามมาอีก เนื่องจากนายสนธยา คุณปลื้ม แกนนำบ้านใหญ่ชลบุรี มีความสนิทสนมกับกลุ่ม 16 ในอดีตที่มีนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็นแกนนำหลัก และยังมีความสนิทสนมกับนายเนวิน ชิดชอบด้วย

แต่หากไปพรรคประชาธิปัตย์ ขณะนี้มี นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดูแลภาคกลางและภาคตะวันออก และมีอำนาจตัดสินใจในการวางตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ประกอบกับการเมืองที่ผ่านมานายสุชาติไม่มีปัญหากับพรรคประชาธิปัตย์ ที่สำคัญในพื้นที่ จ.ชลบุรี ยังไม่ได้วางตัวว่าที่ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งจะทำให้นายสุชาติ เข้าสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ได้ง่ายที่สุด

นอกจากนี้ ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2550 พรรคประชาธิปัตย์ เคยชนะการเลือกตั้งยกทั้งจังหวัดมี ส.ส.ในเขตพื้นที่ทั้งหมด 8 คน และยังได้ ส.ส.บัญชีรายชื่ออีก 1 คนด้วย เนื่องจากการเลือกตั้งครั้งนั้นได้รับแรงสนับสนุนจากคนเสื้อเหลือง ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งกับคนเสื้อแดง ประกอบกับพรรคประชาธิปัตย์มีคะแนนเสียงทุกเขตเลือกตั้ง ทำให้นายสุชาติอาจจะย้ายเข้าไปสู่พรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งปี 2566 ได้

ด้าน นายสรายุทธ วงษ์แสงทอง ว่าที่ผู้สมัครขต 3 ชลบุรี พรรคภูมิใจไทยกล่าวว่า การประชุมพรรคภูมิใจไทยเมื่อวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา ได้มีการวางตัวว่าที่ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง 10 เขตเกือบครบแล้ว เหลือเพียงเขต 4 ซึ่งประกอบไปด้วย อ.พนัสนิคม อ.เกาะจันทร์ ที่กำลังหาตัวผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง นอกจากนี้ทางพรรคได้มอบนโยบายหลังปีใหม่แล้ว ให้เร่งพบปะชาวบ้าน พร้อมทั้งนำนโยบายของพรรคไปบอกกล่าวกับประชาชน เพื่อสร้างฐานคะแนนเสียง

“สำหรับนโยบายที่เด่นชัดและสามารถเรียกคะแนนเสียงจากการสำรวจโพลคือ นโยบายรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าคันละ 6,000 บาท และการติดตั้งโซล่าเซลล์ตามครัวเรือนต่างๆ เนื่องจากได้มีการสำรวจพบว่ารถจักรยานยนต์ถูกใจวัยรุ่นเกือบร้อยละ 70 นอกจากนี้จะได้คะแนนเสียงจากคนในครัวเรือนที่มีการติดตั้งโซล่าเซลล์ เพราะทำให้ประหยัดไฟฟ้า นายสรายุทธกล่าว และว่า หลังปีใหม่แล้วเชื่อว่าว่าที่ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งพรรคภูมิใจไทยทุกคนจะลงพื้นที่พบปะประชาชน เนื่องจากสถานการณ์การเมืองไม่แน่นอน และไม่รู้ว่าจะการยุบสภาเมื่อใด

ย้อนอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

  • สุชาติ โพสต์เลือกข้างบิ๊กตู่ ข่าวทิ้ง พปชร.ส่อจริง ลั่นให้ลุงไปคนเดียว เสียชื่อนักเลงเมืองชล
  • ‘สุชาติ’ จีบอดีต ส.ส.เป้า เข้ารวมไทยสร้างชาติ ลั่นพร้อมส่งลูกๆ ลงสมัครรับเลือกตั้ง
Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม