Chonburi Sponsored

นั่ง 'รถจักรไอน้ำ' ตามรอยประวัติศาสตร์ วันปิยมหาราช 23 ตุลา 65

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดให้มีการเดินขบวนพิเศษ รถจักรไอน้ำ เนื่องในวันปิยมหาราช 23 ตุลาคม 2565 เพื่อให้ทุกคนได้สัมผัสกับเส้นทางประวัติศาสตร์ กรุงเทพ-พระนครศรีอยุธยา

โดย เอกรัช  ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า

“เนื่องใน วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

การรถไฟฯ ได้จัดกิจกรรมเพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงพระราชทานกิจการรถไฟให้แก่ปวงชนชาวไทย

ในโอกาสนี้การรถไฟฯ ได้นำหัว รถจักรไอน้ำ รุ่นแปซิฟิก หมายเลข 824 และ 850 รุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผลิตโดยบริษัท นิปปอน ชาร์เรียว จำกัด

Cr. ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย

ซึ่งปัจจุบันได้เก็บรักษาและซ่อมบำรุงอยู่ที่โรงรถจักรธนบุรี มาจัดเดินขบวนรถพิเศษนำเที่ยวในเส้นทางสายประวัติศาสตร์ระหว่างสถานีกรุงเทพถึงสถานีอยุธยา

เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานกิจการรถไฟให้แก่ปวงชนชาวไทย

จึงขอเชิญชวนร่วมย้อนวันวานไปกับขบวนพิเศษ รถจักรไอน้ำ เฉลิมพระเกียรติ 23 ตุลาคม วันปิยมหาราช

เริ่มจำหน่ายตั๋วโดยสาร ตั้งแต่ วันที่ 11 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ที่สถานีรถไฟทุกแห่งทั่วประเทศ

Cr. ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย

ทั้งนี้ ขบวน รถจักรไอน้ำ พิเศษนำเที่ยวเส้นทางกรุงเทพ-อยุธยา-กรุงเทพ ขบวนที่ 901/902 จะออกจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เวลา 08.10 น. ถึงสถานีอยุธยา เวลา 10.25 น.

นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางท่องเที่ยวภายในจังหวัดอยุธยาประมาณ 6 ชั่วโมง จากนั้นเที่ยวกลับออกจากสถานีอยุธยา เวลา 16.40 น. ถึงกรุงเทพ เวลา 18.45 น.

โดยมีสถานีที่หยุดรับ-ส่งผู้โดยสาร ได้แก่ สถานีสามเสน บางซื่อ บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง รังสิต ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นหรือลงได้ตามสถานีดังกล่าว

ขณะเดียวกันยังขอเชิญชวนประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ใกล้เส้นทางรถไฟสายกรุงเทพ-อยุธยา ที่ไม่มีโอกาสเดินทางไปกับขบวนรถพิเศษ สามารถร่วมบันทึกภาพหัว รถจักรไอน้ำ ในเส้นทางที่ขบวนรถวิ่งผ่านได้”

Cr. ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย

  • เวลา หยุดรับ-ส่ง นักท่องเที่ยว

เที่ยวไป

08:10 น. ออกจากสถานีกรุงเทพ

08:25 น. ออกจากสถานีสามเสน

08:34 น. ออกจากสถานีชุมทางบางซื่อ

08:45 น. ออกจากสถานีบางเขน

08:54 น. ออกจากสถานีหลักสี่

09:04 น. ออกจากสถานีดอนเมือง

09:18 น. ออกจากสถานีรังสิต

10:25 น. ถึงสถานีอยุธยา

เที่ยวกลับ

16:40 น. ออกจากสถานีอยุธยา

17:48 น. ถึงสถานีรังสิต

18:02 น. ถึงสถานีดอนเมือง

18:11 น. ถึงสถานีหลักสี่

18:20 น. ถึงสถานีบางเขน

18:31 น. ถึงสถานีชุมทางบางซื่อ

18:40 น. ถึงสถานีสามเสน

18:55 น. ถึงสถานีอยุธยา

  • อัตราค่าโดยสาร

รถธรรมดาชั้น 3 ไป-กลับ ผู้ใหญ่/เด็ก ราคา 299 บาท

รถตู้โดยสารปรับอากาศ(รถโอทอป) ไป-กลับ ผู้ใหญ่/เด็ก ราคา 799 บาท

บริการอาหารว่างและน้ำดื่มทั้งเที่ยวไป-กลับ

ผู้สนใจสามารถติดต่อซื้อตั๋วโดยสารล่วงหน้าได้ที่ สถานีรถไฟทุกแห่ง

หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง

หรือเว็บไซต์ www.railway.co.th หรือเฟซบุ๊ก แฟนเพจ ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม