Chonburi Sponsored

เที่ยวย่านเก่า อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ร่วมกัน“ฟื้นใจเมือง”

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ท่องเที่ยว

15 ธ.ค. 2565 เวลา 20:00 น.

ชวนเที่ยวย่านเก่า อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ในวันที่ 16-18 ธันวาคม 2565 มีกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ ณ ศาลเจ้าฉื่อปุยเนี้ยว-ขอเล่งเนี้ยว

ชวนเที่ยวย่านเก่าอำเภอเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี  พื้นที่นำร่องในการจัดมหกรรม“ฟื้นใจเมือง” สร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บนฐานทุนทางวัฒนธรรมชุมชน” ในวันที่ 16-18 ธันวาคม 2565 เวลา 15.00 -20.00 น. ณ ศาลเจ้าฉื่อปุยเนี้ยว-ขอเล่งเนี้ยว

เพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่ และร่วมกันฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมย่านซบเซาให้เกิดเป็นย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การจัดมหกรรมฟื้นใจเมืองในครั้งนี้เป็นการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมที่ทางหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) 

โดยจัดขึ้น ใน 4 จังหวัดแต่ละภูมิภาค โดยจังหวัดชลบุรี (อำเภอพนัสนิคม)นำร่อง ตามด้วยจังหวัดพะเยา (อำเภอเชียงคำ) จังหวัดกาฬสินธุ์ (อำเภอเมือง) และจังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอทุ่งสง) เพื่อฟื้นใจย่านเก่า

โชว์จากคณะเอ็งกอพนัสนิคม…

เอ็งกอเป็นศิลปะการแสดงของชาวจีนที่ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ร่วม 100 ปี และได้อนุรักษ์ศิลปะนี้มาตลอดหลายช่วงอายุบรรพบุรุษ 

ปัจจุบัน “เอ็งกอ” ได้กลายเป็นศิลปวัฒนธรรมของชาวอำเภอพนัสนิคมตลอดมา ปัจจุบันได้ร่วมกันจัดตั้ง “เอ็กกอ” ขึ้นเพื่อความสามัคคี และการออกกำลังกาย 

ลักษณะเด่นของเอ็งกอ คือ ผู้แสดงทุกคนจะต้องทาหน้าตาอำพรางตน และแต่งกายแบบจอมยุทธ์จีนตามตำนานการขับไล่กบฏของวีรบุรุษเขาเหลียงซาน

 สิ่งที่ไม่ควรพลาดในพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ วันที่ 17 ธันวาคม 2565 เวลา 17.00-20.00 น.ก็คือขบวนพาเหรดคณะเอ็งกอและขบวนกลุ่มคนรุ่นใหม่แต่งตัวร่วมสมัยด้วยเครื่องจักสานจากพนัสนิคม

กินลมชมหนังกลางแปลง

รับชมวีดิโอเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมชุมชนของเมืองพนัสนิคม และภาพยนตร์ต่าง ๆ ในมุมหนังกลางแปลง ณ ศาลเจ้าฉื่อปุยเนี้ยว-ขอเล่งเนี้ยว

การละเล่นทายโจ๊ก

การละเล่นทายโจ๊ก เป็นการละเล่นพื้นบ้านอันเก่าแก่ของเมืองพนัสนิคม เป็นปริศนาร้อยกรอง ฝึกสมองประลองปัญญากับผู้เล่นที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ในปัจจุบันการละเล่นชนิดนี้ไม่เป็นที่รู้จักและหาชมได้ยาก เนื่องจากถูกทดแทนด้วยวัฒนธรรมต่างชาติและความบันเทิงรูปแบบใหม่ๆ

การแสดงจากศิลปินแห่งชาติ…

การบรรเลงเพลงของวงออเครสต้าโดยสุกรี เจริญสุข พร้อมด้วยการแสดงร่วมกันของปรีชา เถาทอง (วาดภาพ), เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ (ขับกลอน), และคุณธนิสร์ ศรีกลิ่นดี (เป่าขลุ่ย) การแสดงสำหรับพิธีเปิดมหกรรมในครั้งนี้

โดยมหกรรมฟื้นใจเมืองในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดงานอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 17 ธันวาคม 2565

กิจกรรมฟื้นใจเมืองตลอด 3 วัน  

-การสาธิตการทำหมี่แดงแกงลาว อาหารขึ้นชื่อของเมืองพนัสนิคม 

-เวิร์คช็อปงานจักสาน เอกลักษณ์และอัตลักษณ์อันเก่าแก่ของเมืองพนัสนิคม 

-กิจกรรมพนัสเด็ดเจ็ดย่าน เยี่ยมชมสถานที่ 7 ย่านต่าง ๆ ในเมืองพนัสนิคม โดยแต่ละย่านนั้นถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่เป็น “จุดเช็คอิน” ไม่ว่าหอพระพนัส งานจักสาน ร้านของฝาก ร้านอาหารสุดเด็ด เวิร์คช็อปการทำตุ๊กตาเอ็งกอ และที่พักผ่อนหย่อนใจ

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม