Chonburi Sponsored

อุทาหรณ์ 2 หนุ่มดื่มเบียร์มึนเมา ลงไปนั่งเรือถ่ายเซลฟีในบ่อปลา เรือล่มเสียชีวิต

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

สนามข่าว 7 สี – มีเรื่องราวเตือนภัยเป็นอุทาหรณ์ ชาย 2 คน นั่งดื่มเบียร์กับกลุ่มเพื่อนบริเวณริมบ่อปลาจนมึนเมา ลงไปนั่งเรือถ่ายเซลฟีในบ่อปลาที่มีความลึกเกือบ 3 เมตร เกิดพลาดท่าเรือรั่ว น้ำเข้าเรือจนเรือล่ม จมหายทั้งคู่ แต่เคราะห์ดีหนึ่งในนั้นตะเกียกตะกายว่ายน้ำกลับเข้าฝั่งได้อย่างปลอดภัย ขณะที่เพื่อนอีกคนจมน้ำเสียชีวิต

เหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงเย็นแดดร่มลมตกของเมื่อวานนี้  (11 ธ.ค.) ภายในบ่อปลาซึ่งอยู่บริเวณหลังบ้านชั้นเดียวแห่งหนึ่ง ตำบลนาวังหิน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยตำรวจ สภ.พนัสนิคม พร้อมด้วยแพทย์นิติเวช ร่วมตรวจสอบที่เกิดเหตุ ภายหลังอาสากู้ภัยช่วยกันงมหา นายรุ่งโรจน์ เตมีรัศมี อายุ 46 ปี ที่จมน้ำในบ่อปลาซึ่งมีความลึกเกือบ 3 เมตร โดยนำตัวขึ้นมาปั๊มหัวใจช่วยชีวิตในสภาพหมดสติ แต่สุดท้ายยื้อเอาไว้ไม่ไหว จากการตรวจสอบที่ลำตัวไม่พบร่องรอยบาดแผลถูกทำร้าย หรือเกิดจากการต่อสู้ใด ๆ

จากการสอบถาม นายสุรชัย ศรีวรา อายุ 46 ปี ซึ่งเป็นเพื่อนของผู้เสียชีวิต และรอดมาได้อย่างหวุดหวิด บอกว่า ก่อนเกิดเหตุเขาและกลุ่มเพื่อนรวม 4 คน ได้ชักชวนกันมานั่งดื่มเบียร์อยู่ในเพิงพักข้างบ่อปลา โดยดื่มกันได้สักพัก นายรุ่งโรจน์ ก็ชวนลงไปถ่ายรูปเซลฟีในเรือ ท่ามกลางบรรยากาศยามเย็นช่วงก่อนพระอาทิตย์ตกดิน โดยได้พายเรือของเจ้าของบ่อปลาออกไปกลางบ่อ อยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 20 เมตร พร้อมกับถ่ายรูปเซลฟีกันอย่างเพลิดเพลิน จังหวะนั้นพบว่าเรือเกิดโคลงเคลงไปมา และมีน้ำเข้าเรือ จนกระทั่งเรือค่อย ๆ จมลงไป ซึ่งเขาเองก็ว่ายน้ำไม่เก่ง จึงได้พยายามตะเกียกตะกายเข้าฝั่ง โดยมีเพื่อนอีก 2 คน ที่อยู่ด้านบนช่วยกันโยนห่วงยางมาให้ และเขาเองก็โยนห่วงยางส่งต่อให้กับนายรุ่งโรจน์ด้วย และได้ว่ายเข้าฝั่งจนรอดชีวิต แต่เมื่อหันหลังกลับไปดู นายรุ่งโรจน์ ปรากฏว่าไม่ได้ว่ายน้ำตามมา จนมารู้อีกทีว่าว่ายน้ำไม่เป็น และจมน้ำหายไป

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม