Chonburi Sponsored

สุดอลังการ อิสานโอแซว ปี 65 รายได้มอบเป็นทุนอาหารกลางวันเด็กนักเรียน 12 โรงเรียน – TOPNEWS

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored
  • เผยแพร่ : 05/12/2022 12:29

ผ่านพ้นไปด้วยความยิ่งใหญ่ ในงานอิสานโฮแซว ปี 2565 ของชมรมชาวอีสานสัตหีบสัมพันธ์ คราคร่ำไปด้วยชาวอิสานในพื้นที่สัตหีบและใกล้เคียง รวมถึงมวลมิตรทั่วไปในพื้นที่สัตหีบและใกล้เคียง ที่มาร่วมงานกันอย่างคั่บคั่ง 200 โต๊ะจีน ภายในโดม 61 โรงเรียนสิงห์สมุทร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
นางสาวอรกัญญา ปาณะวงศ์ ประธานชมรมฯ นำคณะกรรมการและที่ปรึกษาชมรมฯ กล่าวรายงานถึงความเป็นมาของชมรมฯ และวัตถุประสงค์ของการจัดงานอิสานโฮแซว ปี 2565 ต่อ พ.ต.อ.ดำรงค์ อ้วนสูงเนิน รองผู้บังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค 2 ประธานในพิธีว่า หลังจากที่ว่างเว้นจากการจัดงานมานานถึง 2 ปี จากพิษโควิด-19 ในปีนี้จึงได้จัดอย่างยิ่งใหญ่ ด้วยบรรยากาศที่เป็นไปด้วยความสุข ความสนุกสนานและเป็นกันเองตามรูปแบบของชาวอีสาน ด้วยแสงสีเสียงตระการตา วงโปงลางระดับอินเตอร์ การแสดงของกลุ่มแม่บ้านชาวอีสาน แฟชั่นโชว์การกุศลจากนางแบบกิตติมศักดิ์ ทิฟฟานี่โชว์

การมอบทุนอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียน จำนวน 12 โรงเรียน ปิดท้ายด้วยการแสดงคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง เอม อภัสรา ด้วยวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นศูนย์รวมแห่งความรักความสมัครสมานสามัคคีของพี่น้องชาวอีสานและมวลมิตรสัมพันธ์ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมสืบสานศิลปะวัฒนธรรมอันดีงามของพี่น้องชาวอีสาน ซึ่งเป็นมรดกอันล้ำค่าของคนไทย และที่สำคัญทุกคนได้ร่วมสร้างกุศลร่วมกันอีกด้วย โดยมี พลเรือเอก ธนะกาญจน์ ใคร่ครวญ อดีตผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน พร้อมครอบครัว นายอำเภอสัตหีบ ผู้หลักผู้ใหญ่ของพื้นที่สัตหีบ ร่วมงานอย่างคับคั่งในคืนนี้

นางสาวอรกัญญา ปาณะวงศ์ ประธานชมรมชาวอีสานสัตหีบสัมพันธ์ กล่าวว่าวันนี้ประทับใจมากที่มีผู้หลักผู้ใหญ่และชาวอีสานในพื้นที่ให้ความสำคัญกับชมรมฯ ของเรา โต๊ะจีนที่เราเตรียมไว้ 200 โต๊ะถูกจองเต็มหมด วัตถุประสงค์ในการจัดงานเพื่อเป็นศูนย์รวมแห่งความรักความสมัครสมานสามัคคีของพี่น้องชาวอีสาน และมวลมิตรสัมพันธ์ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมสืบสานศิลปะวัฒนธรรมอันดีงานของพี่น้องชาวอีสาน ซึ่งเป็นมรดกอันล้ำค่าของคนไทย และที่สำคัญพวกเราได้ร่วมสร้างกุศลร่วมกัน

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้