Chonburi Sponsored

สาวเมืองพนัสฯ โพสต์เฟซบุ๊กเตือนภัยแพ้ใบกัญชาเกือบตาย หลังกินต้มจืดมะระไม่รู้ผู้ค้าใส่ใบกัญชา

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ศูนย์ข่าวศรีราชา – สาวเมืองพนัสนิคม โพสต์เฟซบุ๊กเตือนภัยแพ้ใบกัญชาเกือบตาย หลังผู้ขายอาหารใส่ใบกัญชาในต้มจืดมะระไม่แจ้งให้ทราบ รับประทานเพียง 2 ชั่วโมงเกิดอาการเวียนหัวรุนแรง ทั้งอาเจียน คอแห้งนาน 3 วัน จนต้องไปพบแพทย์ วอนติดป้ายแจ้งทุกครั้งที่นำใบกัญชาประกอบอาหาร

จากกรณีที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Sirijan Teerawan ได้โพสต์ข้อความฝากถึงพ่อค้าแม่ค้าขายอาหารว่า ไม่ใช่ว่าทุกคนจะกินกัญชาได้ และขอให้ติดป้ายแจ้งลูกค้าเพื่อความปลอดภัย หลังซื้อกับข้าว (ใส่กัญชา) มารับประทานจนเกิดอาการปวดหัว คอแห้ง คอบวม กลืนน้ำลายลำบาก กระหายน้ำ เพลีย ปวดท้อง จนต้องไปโรงพยาบาล พร้อมบอกว่าตนเองต้องกินยาแก้ปวด และเกลือแร่เพื่อคลายความอ่อนเพลีย 

นอกจากนั้น ยังมีอาการกระหายน้ำนานถึง 3 วัน ขณะเดียวกัน ยังได้โพสต์ภาพถุงต้มจืดที่มีใบกัญชา และภาพที่ตนเองกำลังรักษาตัวที่โรงพยาบาลพนัสนิคม จ.ชลบุรี ซึ่งสรุปอาการว่าแพ้กัญชานั้น


วันนี้ (15 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ไปพูดคุยกับ นางสิริจันทร์ ธีระวรรณ อายุ 27 ปี เจ้าของโพสต์แพ้กัญชาซึ่งได้นำภาพเมนูอาหารที่ตนเองสั่งซื้อผ่านแม่ค้าออนไลน์รายหนึ่งที่เปิดรับออเดอร์พร้อมส่งเมื่อวันศุกร์ที่ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา และตนเองได้สั่งเมนูรังนกตุ๋นแป๊ะก๊วยพุทราจีน สปาเกตตีเบคอนพริกแห้ง ข้าวไก่ผัดตะไคร้ และข้าวต้มจืดมะระยัดไส้หมูสับ โดยพบว่าต้มจืดดังกล่าวมีใบกัญชาติดอยู่

จึงรับประทานเมนูนี้กับสามีโดยไม่ให้ลูกน้อยรับประทาน แต่ผ่านไปเพียง 2 ชั่วโมง ตนเองเริ่มมีอาการเวียนหัวอย่างรุนแรง อาเจียน จึงนอนพัก แต่ผ่านไป 2 วันอาการไม่ดีขึ้น ประกอบกับได้เห็นข่าวชาวบ้านรับประทานอาหารที่ใส่กัญชาจนเสียชีวิตและมีอาการเบื้องต้นคล้ายกับตนเอง จึงรีบเดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลพนัสนิคม 

โดยแพทย์วินิจฉัยว่า เกิดจากการแพ้กัญชา แต่ขณะไปพบแพทย์เริ่มมีอาการน้อยลงแล้วจึงได้กลับมาดูอาการต่อที่บ้าน หลังอาการดีขึ้นจึงตัดสินใจโพสต์เรื่องราวลงในเฟซบุ๊ก เพื่อเตือนภัยผู้ที่คิดจะรับประทานอาหารที่ใส่ใบกัญชาเพราะแต่ละคนมีสภาพร่างกายไม่เหมือนกัน ซึ่งในครั้งนี้โชคดีที่สามีไม่มีอาการแพ้กัญชาเช่นเดียวกับตนเอง


นางสิริจันทร์ ยังได้ฝากไปยังบรรดาพ่อค้าแม่ค้าว่า หากใส่ใบกัญชาลงในเมนูอาหารควรแจ้งให้ลูกค้าทราบทุกครั้งเพื่อให้ลูกค้าได้ตัดสินใจว่าจะรับประทานหรือไม่ ซึ่งในกรณีที่เกิดขึ้นกับตนเองนั้นแม้ผู้ขายอาหารจะติดต่อสอบถามอาการและยินดีชดใช้ค่ารักษาพยาบาลและค่าอาหารคืนให้ แต่ตนเองไม่ได้ติดใจเอาความ เพียงแต่ต้องการเตือนภัยผู้ที่อาจมีอาการแพ้เช่นเดียวกับตนเองเท่านั้น

Chonburi Sponsored
อำเภอ พนัสนิคม

สมัยเมืองพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2371 กำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทรา พระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทิสาร (บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) หรือ ท้าวทุม ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา, อินทราษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) โดยลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม อ้างถึงการอพยพมาสยามครั้งแรกนำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา (ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองนครพนมในอดีต เป็นหัวเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ประเทศราชของสยาม) ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้ได้บุกเบิกสร้างเมืองพนัสนิคม