Chonburi Sponsored

เมืองอุตสาหกรรมสีเขียว

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

ดังนั้น ความยั่งยืนจึงกลายเป็นแนวทางการบริหารของทุกประเทศทั่วโลก ที่ยังคงต้องมุ่งตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในปัจจุบัน อย่าง บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชัน หรือ AMATA ดำเนินงานโดยมีหลักคิดในการคำนึงถึงผลกระทบในทุกๆ มิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนที่แท้จริง

ซึ่ง วิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่การตลาด AMATA ระบุว่า การดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนด้านการจัดการน้ำและขยะอย่างยั่งยืน เป็นอีกเป้าหมายสำคัญของการยกระดับคุณภาพชีวิต ที่ทำให้อมตะฯ ก้าวสู่ระดับเวิลด์คลาส หรือการเดินตามแผนการพัฒนาความยั่งยืนควบคู่กับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs) โดยการดำเนินโครงการฯ เป็นความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ซึ่งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่มีความตื่นตัวในการบริหารจัดการน้ำอย่างจริงจัง และมองเห็นคุณค่าของน้ำเสียว่าสามารถนำมาบำบัดหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ทดแทนแหล่งน้ำจากธรรมชาติหรือน้ำประปา และการอยู่ร่วมกันกับชุมชนรอบนิคมฯ โดยมีแนวทางและแผนการบริหารจัดการน้ำที่มีความต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม อมตะฯ ได้ร่วมกับบริษัทในเครือและเอกชน รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ภายใต้การดำเนิน โครงการ “พัฒนาชุมชนด้านการจัดการน้ำและขยะอย่างยั่งยืน” ระยะที่ 2 โดยขยายพื้นที่การพัฒนาโครงการบริหารจัดการน้ำเสีย ขยะ คลองสาธารณะในชุมชนพื้นที่รอบนิคมฯ อมตะซิตี้ ชลบุรี เพื่อใช้เป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้ก่อนถ่ายทอดสู่ชุมชนอื่นๆ รอบนิคมฯ ต่อไป

อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานโครงการต่อเนื่องครั้งนี้แบ่งเป็น 3 ระยะ เพื่อขยายขอบเขตการพัฒนาให้ครอบคลุมทั้งระบบ ครบทุกพื้นที่ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ได้แก่ ระยะที่ 1 เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2561-2563 ในพื้นที่คลองรับน้ำ-คลองตำหรุ ของเทศบาลตำบลหนองไม้แดง เป็นพื้นที่กลางน้ำซึ่งเชื่อมต่อนิคมอุตสาหกรรม ปัจจุบันชุมชนสามารถบริหารจัดการน้ำและขยะในพื้นที่ได้ดีขึ้นประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพึงพอใจในช่วงที่ผ่านมา

ระยะที่ 2 อยู่ระหว่างการดำเนินงานโดยจะเริ่มตั้งแต่ปี 2565-2566 โดยได้คัดเลือกพื้นที่คลองรับน้ำ-คลองหัวทองหลางซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลคลองตำหรุ เป็นพื้นที่เชื่อมต่อกับโครงการระยะที่ 1 เป็นพื้นที่ปลายน้ำก่อนไหลลงสู่ทะเล ปัจจุบันขาดการบำรุงรักษาส่งผลให้เกิดน้ำเน่าเสียสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง และระยะที่ 3 อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลเพื่อการศึกษาซึ่งคาดว่าจะดำเนินการในพื้นที่ต้นน้ำ ได้แก่ พื้นที่ตำบลพานทอง-หนองกะขะ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในแผนการสร้างชุมชนต้นแบบการบริหารจัดการน้ำและขยะอย่างยั่งยืน

โครงการพัฒนาชุมชนด้านการจัดการน้ำและขยะอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายปฏิบัติการร่วมกันเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและประสบการณ์ของอมตะฯ สู่ชุมชน โดยนำหลักการบริหารจัดการน้ำ ตามหลัก 3Rs การลดการใช้ (Reduce), การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse), การนำมากลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ฯลฯ มาเป็นแนวทางในดำเนินโครงการ ตามภารกิจของอมตะฯ ที่มุ่งมั่นจะรักษาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องเพื่อก้าวสู่ความยั่งยืนที่แท้จริง

อย่างไรก็ตาม ความยั่งยืนและการยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมนั้น จะประสบความสำเร็จได้ก็ต้องขึ้นกับความร่วมมือและจิตสำนึกของทุกภาคส่วนว่าจะมีมากน้อยเพียงใด ความรับผิดชอบและสามัญสำนึกของแต่ละคนว่าจะมีกันแค่ไหน จะมีกันแค่ตามกระแสแบบโลกสวย หรือจะทำกันอย่างยั่งยืน.

บุญช่วย ค้ายาดี

Chonburi Sponsored
อำเภอ พานทอง

ในปี พ.ศ. 2441 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีการปฏิรูปการปกครองประเทศและจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ให้เมืองพนัสนิคม เป็นอำเภอพนัสนิคม ขึ้นกับเมืองชลบุรี มณฑลปราจีนบุรี และบ้านท่าตะกูดมีชุมชนและประชากรเพิ่มขึ้นจึงยกฐานะเป็นอำเภอเรียกชื่อว่าอำเภอท่าตะกูด ขึ้นกับเมืองชลบุรี มณฑลปราจีนบุรี แบ่งการปกครองออกเป็น 15 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านมาบโป่ง ตำบลบ้านเกาะลอย ตำบลบ้านบางนาง ตำบลตลาดควาย ตำบลบ้านหน้าประดู่ ตำบลบ้านบางหัก ตำบลบ้านเนินถ่อน ตำบลบ้านบางพึ่ง ตำบลบ้านหนองหงษ์ ตำบลบ้านพานทอง ตำบลบ้านมอญ ตำบลบ้านหนองกะขะ ตำบลบ้านมาบกระบก ตำบลหนองจับอึ่ง และตำบลหนองตำลึง